"ผ่าตัดส่องกล้องซ่อมลิ้นหัวใจ" ทางเลือกใหม่ ฟื้นตัวไว เจ็บน้อยกว่า

บทความสุขภาพ

“ผ่าตัดส่องกล้องซ่อมลิ้นหัวใจ” ทางเลือกใหม่ ฟื้นตัวไว เจ็บน้อยกว่า

Share:

ผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแบบเปิดที่มีบาดแผลขนาดใหญ่และต้องพักฟื้นเป็นเวลานานอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ด้วยการ ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery, MIS) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมขั้นสูงที่ช่วยลดความเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

นายแพทย์ชวกร เหลี่ยมไพรบูรณ์ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคลิ้นหัวใจเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคนี้มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจเมื่ออายุมากขึ้น รวมถึงสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคหัวใจรูมาติก โรคติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือภาวะลิ้นหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด โดยโรคลิ้นหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจตีบ: เกิดจากการที่ลิ้นหัวใจหนาหรือแข็งตัวเกินไป ทำให้เปิดได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้ยากขึ้น
  • ลิ้นหัวใจรั่ว: เกิดจากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังห้องหัวใจที่เพิ่งถูกปั๊มเลือดออกกมา

การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจเป็นการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) เป็นวิธีการผ่าตัดมาตรฐานที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากขั้นตอนการผ่าตัดที่จำเป็นต้องกรีดแผลยาวบริเวณกลางอกและผ่าตัดแยกกระดูกกลางหน้าอกออก ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ต้องพักฟื้นนาน และมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดค่อนข้างมาก

อีกวิธีการที่ได้รับความนิยมแต่สามารถลดข้อจำกัดดังกล่าวได้ คือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery, MIS) แพทย์จะใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ออกแบบยาวกว่าปกติ และผ่าตัดผ่านช่องซี่โครงทางด้านขวา จากนั้นใช้กล้องวีดิทัศน์สอดผ่านรูเล็กๆ เพื่อขยายภาพ ทำให้มองเห็นภาพที่มีความชัดลึกด้วยระบบ 3 มิติ และใส่สายเครื่องปอดและหัวใจเทียมผ่านบริเวณขาหนีบไปที่เส้นเลือด เพื่อช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจใ ศัลยแพทย์จึงสามารถหยุดการเต้นของหัวใจชั่วคราวและเข้าไปซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้โดยปลอดภัย

การผ่าตัดหัวใจด้วยเทคนิคส่องกล้อง มีความปลอดภัยเทียบเท่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม แต่ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง ฟื้นตัวไวขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน และทำงานตามปกติได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการครองเตียงในหอผู้ป่วยวิกฤต ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล และที่สำคัญยังเพิ่มความสำเร็จของการผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีหลายโรคร่วมและความเสี่ยงสูงได้

“เราสามารถลดระยะเวลาการฟื้นตัวเหลือเพียงไม่กี่สัปดาห์ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและลดการสูญเสียเลือดได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะในยุคนี้ที่การฟื้นตัวเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญ” นายแพทย์ชวกรกล่าว

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดหัวใจคนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยง จึงกังวลและไม่กล้าเข้ารับการรักษา แต่ด้วยเทคโนโลยีและความชำนาญของศัลยแพทย์ทำให้การผ่าตัดหัวใจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป และที่สำคัญยิ่งเข้ารับการผ่าตัดเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การรักษาไม่ซับซ้อน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating