

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวหรือไม่ ? และมีวิธีการรักษาแบบไหนบ้างที่ช่วยบรรเทาอาการ และช่วยรักษาให้หายขาด ซึ่งที่จริงแล้วโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทมีวิธีการรักษาหลากหลายรูปแบบ ไม่ต้องผ่าตัดเส้นประสาทเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของโรค
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร ?
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดหลัง ปวดเอวแบบเรื้อรัง ซึ่งเมื่อก่อนจะพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ในระยะหลังพบในกลุ่มคนทำงานมากขึ้น เนื่องจากการนั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานาน
สัญญาณเตือนของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดหลังแบบเรื้อรัง
- มีอาการปวดร้าวไปที่ขา หรือเท้า
- มีอาการชา หรือซ่า ๆ บริเวณแขนขา
- กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
- ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
สาเหตุของโรค
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- อายุ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม จนหมอนรองกระดูกโผล่ออกมาทับเส้นประสาทได้
- อุบัติเหตุ ที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกเคลื่อนตัว
- น้ำหนักตัว ทำให้น้ำหนักกดทับ ส่งผลให้กระดูกเสื่อมได้
- ยกของหนักบ่อย ๆ
- นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ
ระดับความรุนแรง
ความรุนแรงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะหลัก ๆ คือ
- ระยะเริ่ม ปวดหลังแบบเดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย และมีความถี่ในการปวดหลังบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ
- ระยะกลาง เริ่มมีอาการปวดร้าวลงขา ลงแขน
- ระยะรุนแรง มีอาการชา และปวดเรื้อรัง เป็นระยะที่ค่อนข้างอันตราย และเสี่ยงที่จะเดินหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่เหมือนเดิม
แนวทางการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หลายคนอาจจะคิดว่า การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเพียงวิธีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง โดยมีแนวทางการรักษาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ยา ทั้งในรูปแบบรับประทานและแบบฉีด ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงเส้นประสาทหลังเพื่อลดอาการปวดและอักเสบ
- กายภาพบำบัด เป็นการรักษาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดอาการปวด รวมถึงยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นักกายภาพบำบัด และทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การกายภาพบำบัดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด โดยปัจจุบันการผ่าตัดไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
เทคนิคการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แผลเล็ก แม่นยำสูง
ปัจจุบัน โรงพยาบาลเวชธานีได้นำเทคนิคการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีประสิทธิภาพสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย ช่วยให้ฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังต่อไปนี้
- ผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope หรือการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้อง Microscope เป็นการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ลดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นตัวได้ไว
- Intraoperative Neuromonitoring เทคโนโลยีช่วยเพิ่มความปลอดภัยขณะผ่าตัด ที่จะตรวจสอบการทำงานของเส้นประสาทแบบ Real Time จึงช่วยลดความเสี่ยงการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทขณะผ่าตัดได้
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหากรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ แต่ถ้าอาการรุนแรงและจำเป็นจะต้องผ่าตัดก็มีเครื่องมือเทคโนโลยี พร้อมกับความชำนาญการของศัลยแพทย์กระดูกและข้อด้านโรคกระดูกสันหลัง ที่ช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการบาดเจ็บ ลดการนอนโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500
- Readers Rating
- Rated 4.1 stars
4.1 / 5 (Reviewers) - Excellent
- Your Rating