Campaign - ศูนย์สมองและระบบประสาท - โรงพยาบาลเวชธานี
Vejthani
Hero image

ศูนย์สมองและระบบประสาท Center of Excellence

ให้บริการระดับสากลด้วยมาตรฐาน JCI ครอบคลุมครบวงจรทางด้านสมองและระบบประสาท เพราะสมองเป็นอวัยวะสำคัญ เป็นศูนย์รวมของระบบประสาททั้งหมด ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกระบบ ทั้ง การตื่น, การนอนหลับ, การเคลื่อนไหว, การทรงตัว, การเห็น, การได้ยิน, การขับถ่าย, การรับรู้ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอาจนำไปสู่ความพิการหรือทุพพลภาพ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยทีมแพทย์ชำนาญการด้านระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี พร้อมที่จะให้การดูแลรักษาท่านด้วยมาตรฐานสูงสุด

บริการของศูนย์สมองและระบบประสาท

 

อายุรกรรมสมอง (Neurology)

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แขนขาอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก
  • โรคปวดศีรษะ (Headache, Migraine, Facial Pain, Chronic Pain) อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดร้าวที่ใบหน้า ปวดคอ
  • อาการวูบ มึนงงศีรษะ เป็นลมบ่อย (Dizziness, Syncope)
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • โรคสมองเสื่อม หลงลืมและพฤติกรรมผิดปกติ (Dementia, Cognition and Behavioral Disorders)
  • การเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน กล้ามเนื้อกระตุก (Movement Disorders)
  • ภาวะเส้นประสาทเสื่อม ชาปลายมือปลายเท้าจากโรคเบาหวาน (Diabetic Neuropathy)
  • อาการผิดปกติ ขณะนอนหลับ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน ง่วงมากผิดปกติ (Sleep Disorders)
  • กล้ามเนื้อบิดเกร็งจากโรคของสมอง (Spasticity)

ศัลยกรรมสมอง (Neurosurgery)

  • โรคเนื้องอกในสมองและไขสันหลัง (Brain and Spinal Cord Tumor)
  • อุบัติเหตุทางสมองและไขสันหลัง (Brain and Spinal Cord Injury)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ เช่น AVM, Aneurysm
  • ผ่าตัดแก้ไขการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย (Functional Neurosurgery) เช่น โรคสั่น โรคปวด โรคลมชัก ฯลฯ

การตรวจวินิจฉัยทางสมอง (Neurodiagnostic)

  • บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเพื่อค้นหาต้นตอสาเหตุของอาการหรือโรคช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างตรงจุดถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำมากที่สุดโดยการแบ่งการตรวจดังนี้

เทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีวิวัฒนาการก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยให้เราสามารถมองเห็นการทำงานของสมองและระบบประสาทได้โดยผ่านเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ ว่าเกิดความผิดปกติในสมองส่วนใด ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างตรงจุดถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำมากที่สุดโดยการแบ่งการตรวจดังนี้

เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางด้านประสาทสรีรวิทยา (Neurophysiologic Studies)

 

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography: EEG) ช่วยวินิจฉัยโรคลมชัก วูบ หมดสติ โรคกระตุกภาวะสมองตายและเพื่อแยกโรคจากสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายการชัก
  • ตรวจความผิดปกติจากการนอน (Polysomnography: PSG / Sleep Test) เป็นการตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะนอนกรนหยุดหายใจหรือเกร็งกระตุกขณะนอนหลับ
  • ตรวจการนำกระแสประสาท (Nerve Conduction studies: NCS)เพื่อวินิจฉัยโรคของเส้นประสาทส่วนปลาย ได้แก่ โรคมือชา เท้าชาจากเส้นประสาทอักเสบ การกดทับเส้นประสาทที่มือหรือขาการบาดเจ็บของเส้นประสาทหลังจากอุบัติเหตุ
  • ตรวจกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้า (Electromyogram: EMG) เป็นการตรวจกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทเพื่อวินิจฉัยแยกโรคของกล้ามเนื้อกับโรคของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อ
  • ตรวจหลอดเลือดคอ (Carotid Doppler) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดบริเวณคอ เพื่อตรวจหาขนาดและความหนาของผนังหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูนหรือไขมันเกาะอยู่ภายในหรือไม่ รวมทั้งการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ช่วยวินิจฉัยผู้ที่มีความเสี่ยงอัมพาต วูบ ชาครึ่งซีก หรือมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

การตรวจด้านรังสีวินิจฉัย (Neuroradiogy) เพื่อระบุตำแหน่งจุดกำเนิดโรคในสมองได้ชัดเจนมากขึ้น

 

  • ตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT SCAN) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของสมอง เช่นโรคหลอดเลือดสมองแตก อุบัติเหตุที่ศีรษะ เนื้องอกในสมอง ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว
  • การตรวจสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI Brain) เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์ที่สามารถให้รายละเอียดของสมองได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจพบการตีบตันของหลอดเลือดสมองได้ตั้งแต่ระยะแรก
  • การตรวจหลอดเลือดในสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (MRA Brain) เพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณคอซึ่งเป็นหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง และตรวจหาความผิดปกติกรณีหลอดเลือดในสมองโป่งพอง
  • การฉีดสีทึบแสง (Cerebral Angiography) เพื่อดูพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง

บทความสุขภาพ

‘ ปวดหัว ’ แบบไหนต้องรีบพบแพทย์

อาการปวดศีรษะ อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงในสมอง เช่น เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง ถึงแม้จะพบไม่บ่อย แต่จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT-Scan หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นต้น อ่านต่อ…

ยาฉีดนวัตกรรมล่าสุดในไทย หยุดอาการปวดหัวไมเกรน

ยาฉีดป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนให้เห็นผลดีกว่ายารับประทาน เพราะยาฉีดมีฤทธิ์ต้านสารสื่อประสาท CGRP ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องทรมานจากอาการปวดหัวไมเกรนอีกต่อไป อ่านต่อ…

ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)

อาการปวดหัวลักษณะตุ๊บๆ ซึ่งตำแหน่งที่ปวด อาจจะปวดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง โดยในช่วงแรกจะปวดเพียงเล็กน้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่มร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนแรง หรือชา โดยอาการปวดหัวไมเกรนนั้น สาเหตุหลักสัมพันธ์กับการที่มีสารตั้งต้น CGRP ที่ก่อให้เกิดอาการปวดหัว มากเกินไปในสมอง อ่านต่อ…

อาการปวดหัวแบบไหนที่ไม่อันตราย…แต่เป็นสัญญานของโรคเรื้อรัง!!!

อาการ “ปวดหัวจากไมเกรน” รักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดใต้ผิวหนัง ร่วมกับหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ส่วน “ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว” หรือออฟฟิศซินโดรม รักษาได้ด้วยการใช้ยาร่วมกับการกายภาพ หากไม่รักษาอาการปวดหัวจะเรื้อรังและรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคร่วมอื่น อ่านต่อ…

ซ่อมลิ้นหัวใจ

หลอดเลือดสมองตีบตัน รักษาทัน ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่เป็นมักมีอาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากมาถึงมือแพทย์เร็วทันเวลา ก็มีโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติได้ อ่านต่อ…

ซ่อมลิ้นหัวใจ

ลดอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนที่สร้างสารสื่อประสาทโดปามีน หากร่างกายสร้างโดปามีนได้น้อยลงจะทำให้การเคลื่อนไหวลดลงหรือเคลื่อนไหวช้าลง อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการสั่นและกล้ามเนื้อเกร็ง นำมาซึ่งการก้าวขาไม่ออก เดินซอยเท้า และเสียการทรงตัว เสี่ยงต่อการหกล้มง่าย อ่านต่อ…

ซ่อมลิ้นหัวใจ

4 สาเหตุที่ทำให้สมองบวม

สมองบวม (Cerebral Edema) คือการที่มีของเหลวส่วนเกินสะสมในสมอง ทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจเกิดขึ้นทั่วทั้งสมองหรือกับสมองบางส่วน โดยภาวะสมองบวมแบ่งออกเป็น 4 สาเหตุ อ่านต่อ…

ซ่อมลิ้นหัวใจ

“ชาหน้า”อาจเกิดจากโรคสมอง

อาการชา สามารถเกิดได้ทุกส่วนในร่างกาย แม้กระทั่งการชาที่ใบหน้า โดยอาการชาที่ใบหน้านั้น สามารถเกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ เกิดจากพยาธิสภาพที่เส้นประสาทรับความรู้สึก หากเซลล์ประสาทยังไม่ตายจะเป็นอาการปวดแต่หากเซลล์ประสาทตายหรือถูกตัดขาดจะทำให้เกิดอาการชา อ่านต่อ…

ซ่อมลิ้นหัวใจ

อาการชาที่เกิดกับร่างกายบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง

อาการชา ชาเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งซีก (ซีกที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง) นอกนั้นไม่มีอาการชา อาจเป็นสัญญาณของโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด อ่านต่อ…

โรคหลอดเลือดสมอง STROKE

 

การเคลื่อนไหวผิดปกติ MOVEMENT

 

พฤติกรรมประสาทวิทยา และความจำ

 


ปรึกษาแพทย์ได้เลยวันนี้

ทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษา

มาตรฐาน JCI

กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

กรณีเร่งด่วนกรุณาติดต่อโดยตรงกับทางโรงพยาบาลได้ที่

Hotline 02 734 0000