ศูนย์ปลูกถ่ายไตครบวงจร - ผ่าตัดปลูกถ่ายไตอย่างมืออาชีพ ดูแลโดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ
Vejthani
Hero image

Comprehensive Transplant Center ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี

โรงพยาบาลเวชธานี เป็นโรงพยาบาลเอกชน ระดับตติยภูมิ ขนาด 263 เตียง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2537 โดยมี นายแพทย์เทิดศักดิ์ เชิดชู เป็นผู้อำนวยการแพทย์ ปัจจุบันโรงพยาบาลเวชธานี เปิดให้บริการทั้งหมด 5 อาคาร มีหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ หอผู้ป่วยทั่วไป และ หอผู้ป่วยหนัก สำหรับดูแลผู้บริจาคอวัยวะ และผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีหอผู้ป่วยวิกฤติ จำนวน 2 ห้อง และห้องแยกสำหรับดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่หอผู้ป่วยปกติ Ward 6A ศัลยกรรม จำนวน 22 ห้อง เป็นห้องแยกเดี่ยวทุกห้อง เพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต ปัจจุบันมีห้องผ่าตัดจำนวน 9 ห้อง มีเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) จำนวน 12 เครื่อง ให้บริการวันละ 2-3 รอบ ทั้งในและนอกเวลาราชการ หยุดวันอาทิตย์

ทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Teams)

โรงพยาบาลเวชธานี มีคณะกรรมการเปลี่ยนไต (Transplant Committee) และคณะกรรมการด้านจริยธรรม (Ethics Committee) เพื่อกลั่นกรองกระบวนการปลูกถ่ายไตให้ถูกต้องตามจริยธรรม ตามกฎระเบียบของแพทยสภาและตามกฎหมายของประเทศไทย โดยเรามีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือดเป็นประจำและดูแลผู้ป่วยวิกฤติ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ (Multidisciplinary Team) ได้แก่

ทีมอายุรแพทย์โรคไต
  1. พญ. อำไพวรรณ รุ่งบรรณพันธุ์
  2. นพ. พิชิต เบ็ญจสุพัฒนนันท์
  3. นพ. ณฐพุฒิ บุญวิสุทธิ์
  1. นพ. ไพบูลย์ เอี่ยมสุภัคกุล (Urology)
  2. นพ.ชววรรธน์ โกสีย์ศิริกุล (Urology)
  3. นพ.ธัชชัย พิพิธพันธ์พิพิท (Urology)
  1. นพ. จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์
  1. พว.ดาราณี อุปถัมภ์
  2. พว.วัชราพร ปุริตัง
  3. พว.ชัชฎาพร สิ้นโศรก
  1. คุณขวัญฤดี ขวัญคุ้ม
  2. คุณอรณิชา กิตติพลภูวรักษ์
  1. นพ.ธัญญะ โรจน์พานิช
  1. พญ.มยุรี อิ่มสกุล
ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายไต
  1. นพ.บัณฑิต สกุลชัยรุ่งเรือง (vascular surgeon)
  2. นพ.ขวัญชัย ลาวัลย์วงษ์ (vascular surgeon)
  3. นพ.ศุภชัย จันทร์วิทัน (vascular surgeon)
  4. พล.อ.ต.นพ.ฉัตรชัย สุนทรธรรม (vascular surgeon)
  1. พว.ทิพวรรณ พันธ์สุวรรณ
  2. พว.บัณฑาธิกา กันธิยาใจ
  1. ภญ.ภคพร แสงวิไลนภา
  2. ภก.นาทิต มังคละมณี
  1. พญ.สุมันทา ธงทอง
  1. นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ

ความประทับใจของผู้รับบริการ

เรื่องราวสุดประทับใจของผู้ป่วยที่ได้รับการ ปลูกถ่ายไต ทางเลือกสู่ชีวิตใหม่

ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไม่ได้จบแค่ “การฟอกไต” ไปตลอดชีวิต
ชีวิตใหม่กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง หลังจากได้รับการ “ปลูกถ่ายไต” โดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี

เปลี่ยนไต เปลี่ยนชีวิต ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไม่ได้จบแค่ “การฟอกไต” ไปตลอดชีวิต
ชีวิตใหม่กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง หลังจากได้รับการ “ปลูกถ่ายไต” โดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี

ปลูกถ่ายไต ทางเลือกชีวิตใหม่ ที่ไม่ต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต

ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไม่ได้จบแค่ “การฟอกไต” ไปตลอดชีวิต ชีวิตใหม่กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง หลังจากได้รับการ “ปลูกถ่ายไต” โดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี

ปลูกถ่ายไต ทางเลือกชีวิตใหม่ ไม่ต้องฟอกไตตลอดชีวิต

อยากให้โรงพยาบาลเวชธานี เป็นตัวเลือกแรกที่อยากให้ทุกคนเลือกมาปลูกถ่ายไต สิ่งที่เสียไประหว่างการฟอกไต รอไต จะได้กลับคืนมาทั้งหมด โดยสิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจมาปลูกถ่ายไตที่นี่ เพราะว่าเชื่อมั่นในทีมแพทย์…

หยุดทรมานจากการฟอกไต ด้วยการปลูกถ่ายไต

ใครจะไปคิด “อายุแค่นี้” จะมาถึงช่วง “โรคไตระยะสุดท้าย” ได้ อายุแค่นี้กับต้องมาฟอกไตทุกอาทิตย์ จากที่สามารถใช้ชีวิตได้มากกว่านี้ ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไม่ได้จบแค่ “การฟอกไต”…

หยุดทรมานจากการฟอกไต ด้วยการปลูกถ่ายไต

ใครจะไปคิด “อายุแค่นี้” จะมาถึงช่วง “โรคไตระยะสุดท้าย” ได้ อายุแค่นี้กับต้องมาฟอกไตทุกอาทิตย์ จากที่สามารถใช้ชีวิตได้มากกว่านี้ ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไม่ได้จบแค่ “การฟอกไต” ไปตลอดชีวิต

วีดีโอสุขภาพ

ปลูกถ่ายไต เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่รอปลูกถ่ายไตกว่า 6,000 คน โดยเฉลี่ยหนึ่งคนจะรอประมาณ 4-5 ปี ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายคือ ไตทำงานน้อยกว่า 15% จะมีอาการ ปัสสาวะผิดปกติ

ข้อมูลไต

หน้าที่และความสำคัญของไต

ไตเป็นอวัยวะในช่องท้องทางด้านหลังอยู่ระดับเดียวกับบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่ว ไตมีสองข้าง แต่ละข้างมีขนาดประมาณหนึ่งกำมือ หน้าที่หลักของไต คือ ขับน้ำส่วนเกินและของเสียที่เกิดจากการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ออกนอกร่างกายผ่านทางปัสสาวะนอกจากหน้าที่ขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายแล้วไตยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก คือ

  • ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
  • ควบคุมความเป็นกรดด่างในร่างกาย
  • ควบคุมความดัน
  • ควบคุมการสร้างวิตามินดี ช่วยรักษาสมดุลแคลเซียมและฟอสฟอรัสและการสร้างกระดูก
  • ผลิตฮอร์โมน erythropoietin ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น renin-angiotensin-aldosterone system และ prostaglandin ที่มีผลต่อการควบคุมความดันเลือด และกระบวนการอักเสบของร่างกาย

อาการของโรคไตวายเรื้อรัง

ภาวะไตวายเป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ไม่สามารถขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้ของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายขาดความสมดุลส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะไตวายมีอาการดังต่อไปนี้

  • หน้าบวม ขาบวม
  • ปัสสาวะลดลง
  • ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
  • ปัสสาวะมีฟอง หรือ เลือดปน
  • ผิวแห้ง และ คัน
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหมือนปัสสาวะ

ทางเลือกการรักษาภาวะไตวาย มี 3 วิธี ได้แก่

  1. ล้างไตทางช่องท้อง คือการใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องแบบถาวรและใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เพื่อฟอกของเสียในเลือดออก รวมถึงปรับสมดุลของน้ำเกลือแร่ และสารเคมีต่าง ๆ โดยต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาทุกวัน วันละ 4 – 6 ครั้ง สามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่ต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อลดโอกาสติดเชื้อในช่องท้อง
  2. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมคือการนำเลือดของผู้ป่วยออกจากร่างกายด้วยการแทงเข็มเข้าเส้นเลือดแล้วต่อกับท่อไปยังตัวกรองเพื่อให้เลือดสะอาดและปรับสมดุลแร่ธาตุต่างๆ เครื่องไตเทียมจะนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายตามเดิม โดยกระบวนการฟอกเลือดนี้จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการฟอกเลือดที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
  3. ปลูกถ่ายไต คือการผ่าตัดนำไตของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการบริจาคจากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่มาทำหน้าที่แทนไตเดิมของผู้ป่วย โดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานแล้วต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะและหลอดเลือดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่ต้องบำบัดด้วยการฟอกไตอีกต่อไปแต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตใหม่ หรือที่เรียกว่าภาวะสลัดไต โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงไม่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะติดเชื้อและไม่มีโรคหัวใจรุนแรง

ตัวเลือกการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

  • การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (living-related kidney transplant)

ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามกฎหมายผู้บริจาคไตต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา หรือจากสามีภรรยาที่แต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี ยกเว้นมีบุตรด้วยกันไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี

  • การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (deceased donor kidney transplant)

เป็นการนำไตมาจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายโดยได้รับการจัดสรรผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยซึ่งเป็นผู้จัดหาผู้บริจาคอวัยวะและจัดสรรไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายอย่างเป็นธรรมเสมอภาคและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะ

ข้อดี-ข้อเสียของการปลูกถ่ายไต

การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ให้ผลดีที่สุดแต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีข้อจำกัดบางประการซึ่งต้องมีการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างทีมแพทย์และตัวผู้ป่วยเพื่อให้การรักษานี้เกิดประโยชน์สูงสุดและปลอดภัยที่สุดกับตัวผู้ป่วย

  • ข้อดี
  1. ไม่ต้องฟอกเลือด หรือ ล้างไตทางหน้าท้อง
  2. ร่างกายแข็งแรง
  3. ไม่ต้องควบคุมอาหาร และ น้ำอย่างเคร่งครัด
  4. คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  5. สามารถมีบุตรได้ตามปกติ
  • ข้อเสีย
  1. มีความเสี่ยงในการผ่าตัด
  2. ต้องรับประทานยากดภูมิตลอดชีวิต
  3. มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย จากผลข้างเคียงของยากดภูมิ
  4. มีความเสี่ยงต่อการปฏิเสธไตของร่างกาย

คุณสมบัติของผู้รับการปลูกถ่ายไต (recipient)

  1. เป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตอยู่
  2. ไม่มีประวัติโรคติดเชื้อที่เป็นข้อห้าม อาทิ (HIV) และ ไม่มีปัญหายาเสพติด
  3. สามารถติดตามคำแนะนำของแพทย์และมารับการติดตามการรักษาได้อย่างสม่ำเสมอ
  4. ยอมรับและสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตได้
  5. หากเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งมาก่อนจะต้องได้รับการรักษาให้หายขาดมาแล้วอย่างน้อย 2-5 ปี แล้วแต่ชนิดของมะเร็ง
  6. ไม่เป็นผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงสำหรับการผ่าตัด เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว
  7. มีภาวะจิตที่ปกติซึ่งจะมีการประเมินจากจิตแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ภาวะไตวาย เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ไม่สามารถขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้ของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายขาดความสมดุล ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ภาวะไตวายมีอาการดังต่อไปนี้

  • หน้าบวม ขาบวม
  • ปัสสาวะลดลง
  • ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
  • ปัสสาวะมีฟอง หรือ เลือดปน
  • ผิวแห้ง และ คัน
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหมือนปัสสาวะ
  1. ล้างไตทางช่องท้อง คือการใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องแบบถาวรและใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เพื่อฟอกของเสียในเลือดออก รวมถึงปรับสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีต่าง ๆ โดยต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาทุกวัน วันละ 4 – 6 ครั้ง สามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่ต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อลดโอกาสติดเชื้อในช่องท้อง
  2. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือการนำเลือดของผู้ป่วยออกจากร่างกายด้วยการแทงเข็มเข้าเส้นเลือดแล้วต่อกับท่อไปยังตัวกรองเพื่อให้เลือดสะอาดและปรับสมดุลแร่ธาตุต่าง ๆ เครื่องไตเทียมจะนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายตามเดิม โดยกระบวนการฟอกเลือดนี้จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการฟอกเลือดที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
  3. ปลูกถ่ายไต คือการผ่าตัดนำไตของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคจากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ มาทำหน้าที่แทนไตเดิมของผู้ป่วย โดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานแล้วต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะและหลอดเลือดของผู้ป่วย หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่ต้องบำบัดด้วยการฟอกไตอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตใหม่ หรือที่เรียกว่าภาวะสลัดไต โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะติดเชื้อและไม่มีโรคหัวใจรุนแรง

ไตที่จะนำมาปลูกถ่าย มาจากที่ไหนได้บ้าง

ไตที่จะนำมาปลูกถ่ายได้ต้องเป็นไตที่ได้มาจากญาติ พี่-น้อง สามี-ภรรยา ที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายเท่านั้น

ไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต

  • กรณีผู้ป่วยชาวไทย
  1. ผู้บริจาคต้องมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น HLA และ/หรือ DNA
  2. ผู้บริจาคต้องเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรือ อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยกับผู้รับอวัยวะมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี กรณีที่มีบุตรร่วมกันโดยสายโลหิตไม่ต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี หากมีปัญหาในการพิสูจน์บุตรร่วมกันให้ใช้ HLA และ/หรือ DNA เป็นเครื่องพิสูจน์
  • กรณีผู้ป่วยชาวต่างชาติ
  1. เอกสารยืนยันความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือความเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรืออยู่กินฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยกับผู้รับอวัยวะมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยเอกสารทั้งหมดต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการของบุคคลในสัญชาติของผู้ร้องขอรับการปลูกถ่ายอวัยวะและได้รับการรับรองด้านความถูกต้องของผู้ออกเอกสารจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย
  2. ต้องมีการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วยวิธี HLA และ/หรือ DNA หรือวิธีอื่นๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้ที่มีความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกันจากสถาบันทางการแพทย์ของรัฐในประเทศไทย

ไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย

การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายและได้รับการประเมินและวินิจฉัยมีภาวะสมองตายตามเกณฑ์ของแพทยสภา และสามารถบริจาคไตได้ผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเป็นผู้คัดสรรผู้ป่วยไตวายที่เหมาะสมกับอวัยวะที่รอรับบริจาค โดยใช้หลักการจัดสรรทางการแพทย์

การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ให้ผลดีที่สุด แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีข้อจำกัดบางประการซึ่งต้องมีการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างทีมแพทย์และตัวผู้ป่วยเพื่อให้การรักษานี้เกิดประโยชน์สูงสุดและปลอดภัยที่สุดกับตัวผู้ป่วย
ข้อดี

  1. ไม่ต้องฟอกเลือด หรือ ล้างไตทางหน้าท้อง
  2. ร่างกายแข็งแรง
  3. ไม่ต้องควบคุมอาหาร และ น้ำอย่างเคร่งครัด
  4. คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  5. สามารถมีบุตรได้ตามปกติ

ข้อเสีย

  1. มีความเสี่ยงในการผ่าตัด
  2. ต้องรับประทานยากดภูมิตลอดชีวิต
  3. มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย จากผลข้างเคียงของยากดภูมิ
  4. มีความเสี่ยงต่อการปฏิเสธไตของร่างกาย
  1. เป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตอยู่
  2. ไม่มีประวัติโรคติดเชื้อที่เป็นข้อห้าม อาทิ (HIV) และ ไม่มีปัญหายาเสพติด
  3. สามารถติดตามคำแนะนำของแพทย์และมารับการติดตามการรักษาได้อย่างสม่ำเสมอ
  4. ยอมรับและสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตได้
  5. หากเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งมาก่อน จะต้องได้รับการรักษาให้หายขาดมาแล้วอย่างน้อย 2-5 ปี แล้วแต่ชนิดของมะเร็ง
  6. ไม่เป็นผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงสำหรับการผ่าตัด เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว
  7. มีภาวะจิตที่ปกติ ซึ่งจะมีการประเมินจากจิตแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

บริการของศูนย์ไตเทียม

 

การฟอกเลือด

  • ให้บริการฟอกเลือดแบบทั่วไปและแบบ Hemodiafiltration (การล้างไตประสิทธิภาพสูง)
  • ฟอกเลือดในผู้ป่วยที่มีสารพิษคั่งในกระแสเลือด
  • ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและเฉียบพลัน
  • ใช้ตัวกรองเลือดที่มีคุณภาพสูง (High Flux/High Efficiency Dialyzer) ซึ่งเป็นตัวกรองที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับไตของคนปกติมากที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยในระยะยาว

  • น้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการฟอกเลือดผ่านมาตรฐาน AAMI เป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการกำจัดสารตกค้างและฆ่าเชื้อโดยระบบ RO (Reverse Osmosis) ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
  • รักษาภาวะไตวายเรื้อรังด้วยการล้างทางหน้าท้อง
  • การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasmapheresis)
  • แก้ไขเส้นเลือดเทียมทุกรูปแบบในการฟอกเลือด
  • ผ่าตัดเส้นเลือดพิเศษสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • แก้ไขปัญหาเส้นเลือดพิเศษสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ศูนย์ไตเทียมตั้งอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้มีแพทย์เฉพาะทางทุกสาขาและอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการให้บริการ เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะฟอกเลือดได้ทันท่วงที
  • มีห้องแยกเป็นสัดส่วนสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนในระหว่างการฟอกเลือด พร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยและญาติ เช่น โทรทัศน์ประจำแต่ละเครื่องไตเทียม ญาติสามารถนั่งอยู่กับผู้ป่วย หรือนั่งพักรอในห้องรับรองสำหรับญาติ

การผ่าตัดเปลี่ยนไต

  • การตรวจร่างกายเตรียมพร้อมผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัดเปลี่ยนไต (Kidney Transplant)
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
  • การผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่มีความสัมพันธ์เป็นสามี ภรรยา
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต โดยบริจาคผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • การผ่าตัดเปลี่ยนไตซ้ำ (Re-Transplantation)

การดูแลรักษาหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต

  • การผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดที่เลี้ยงไตผิดปกติ หลังการเปลี่ยนไต
  • การผ่าตัดแก้ไขท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ หลังการเปลี่ยนไต
  • การตรวจเนื้อเยื่อ เพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อน หลังการเปลี่ยนไต
  • การรักษาภาวะไตทำงานผิดปกติ หลังการเปลี่ยนไต เช่น การต่อต้านไต
  • รักษาภาวะการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ติดเชื้อในตับ ติดเชื้อในช่องท้อง ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในสมอง ติดเชื้อไวรัส CMV ติดเชื้อไวรัส BK และ ติดเชื้อราที่รุนแรงต่อชีวิต เป็นต้น

การตรวจสุขภาพไต

  • ตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคที่เกี่ยวกับหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย
  • การตรวจวัดประสิทธิภาพและการทำงานของไต

บทความสุขภาพเกี่ยวกับโรคไต

 


ศูนย์ไตเทียม

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รักษาได้ 3 วิธี

โรคไตวายเรื้อรัง คือโรคที่ไตถูกทำลายจนไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไตอักเสบ นิ่วไต และการได้รับยาหรือสมุนไพรที่มีพิษต่อไต อ่านต่อ…


ศูนย์ไตเทียม

“โรคไตวาย” กับการฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง

“ไตวาย” เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ไม่สามารถขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้ของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายขาดความสมดุล อ่านต่อ…


ศูนย์ไตเทียม

โรคไตวายเฉียบพลัน VS เรื้อรัง แบบไหนน่ากลัวกว่ากัน ?

“ไตวาย” เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ไม่สามารถขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้ของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายขาดความสมดุล อ่านต่อ…


ศูนย์ไตเทียม

5 ระยะความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังและการดูแล

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับการบริโภคอาหาร เพื่อชะลอความเสื่อมและลดโอกาสการดำเนินโรคเร็วกว่าที่ควรจะเป็น โดยสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามระยะโรคได้ดังนี้ อ่านต่อ…


ปรึกษาแพทย์ได้เลยวันนี้

ทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษา

มาตรฐาน JCI

กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

กรณีเร่งด่วนกรุณาติดต่อโดยตรงกับทางโรงพยาบาลได้ที่

Hotline 02 734 0000