นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว
แพทย์ชำนาญการด้านหัวใจและหัวใจเต้นผิดจังหวะ




รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่า 10,000 ราย







รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ มากกว่า 400 ราย / ปี



โรงพยาบาลเวชธานีพร้อมให้การรักษาโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง
แพทย์ชำนาญการด้านหัวใจและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรงพยาบาลเวชธานีพร้อมให้การรักษาโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง
ช่วง 1 เดือนก่อนที่จะเข้ามารับการรักษา มีอาการอ่อนเพลีย และตอนนั้นกำลังวัดความดันเพื่อที่จะฉีดวัคซีนผลปรกฎว่า ชีพจรของเราเต้นช้ามาก แพทย์จึงแนะนำว่ายังไม่ควรให้ฉีด และให้พบหมอทางด้านหัวใจ เราก็ไปตรวจสุขภาพหัวใจเบื้องต้น ซึ่งทุกที่ที่ไปตรวจก็แนะนำว่าให้ใส่ ‘เครื่องกระตุ้นหัวใจ’ เพราะอาการแบบนี้มีโอกาสทำให้หัวใจเราหยุดเต้นได้ ก็เลยรีบหาข้อมูลใน Internet จนมาเจอกับ รพ.เวชธานี ที่ตัดสินใจเข้ามารักษากับที่นี่ก็เพราะว่า เขามีทางเลือกในการรักษาที่ค่อนข้างเยอะ ก็เลยนัดหมายเพื่อเข้ามาพบคุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว คุณหมอน่ารักและใจดีมาก ๆ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ก่อนผ่าตัดก็ตื่นเต้นค่อนข้างมาก แต่พอหลังจากการผ่าตัดก็คือสบายใจมาก ไม่ค่อยเจ็บแผล พักฟื้นที่ รพ. เพียง 1 วัน ก็กลับบ้านได้เลย
อาการเริ่มแรกรักษาไทรอยด์เป็นพิษอยู่ แล้วมันก็พัฒนามาเป็นอาการใจสั่น เป็นช่วง ๆ บางครั้งมันก็ทำให้เราเหนื่อยมาก นอนไม่ได้ เป็นมาหลายเดือน เราก็หาข้อมูลว่ามีโรงพยาบาลไหนที่มีแพทย์ชำนาญในเรื่องนี้ จนมาเจอโรงพยาบาลเวชธานี เลยตัดสินใจเข้ามา หลังจากทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจ อาการที่เคยเป็นก็ดีขึ้น ประทับทีมแพทย์และทีมงานโรงพยาบาลเวชธานีมาก ๆ ทำนัด ดูแลดีจนกลับบ้านอย่างดีเลยครับ
ยิ้มได้แล้วครับจี้ไฟฟ้าหัวใจ หยุดปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ พักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 คืนการจี้ไฟฟ้าหัวใจผลตอบรับดีมาก ผมต้องทานยาอีก 3 เดือน เพราะเป็นเคสที่ค่อนข้างยากแล้วก็จะหายครับผมรับรู้ทุกขั้นตอนการทำ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง จบปัญญาหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว เก่งมาก ๆ ครับ ผมคุยกับคุณหมอจนจบการจี้ ไม่มีหลับเลย การจี้หมอดูจากกราฟหัวใจในจอเท่านั้น ผมนึกว่าจะมีกล้องส่อง ไม่มี ใช้ความชำนาญและประสบการณ์ของคุณหมอโดยแท้จริง
คุณหมอบอกว่ากระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติมานานแล้วควรจะจี้ซะที เลยถามคุณหมอว่าถ้าไม่ทำแล้วจะเป็นยังไง คุณหมอบอกว่าปล่อยอาจเสี่ยงไหลตาย ฉันจึงตัดสินใจรักษา แต่เป็นคนกลัวเข็มมากและวิตกจริตหลายวัน…พอมาทำจริงๆก็ไม่ได้เจ็บมากมาย และหลังจากจี้หัวใจแล้วอาการใจสั่นก็ไม่มีอีกเลยต้องขอขอบคุณ นพ. อัมพล อิทธิฤทธานนท์ที่ดูแลมาตลอด 16 ปี และ นพ. ปริวัตร เพ็งแก้ว รวมทั้งพยาบาลทุกท่านที่ดูแลอย่างดีตอนที่อยู่โรงพยาบาลนะคะ
ยิ้มได้แล้วครับจี้ไฟฟ้าหัวใจ หยุดปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ พักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 คืนการจี้ไฟฟ้าหัวใจผลตอบรับดีมาก ผมต้องทานยาอีก 3 เดือน เพราะเป็นเคสที่ค่อนข้างยากแล้วก็จะหายครับผมรับรู้ทุกขั้นตอนการทำ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง จบปัญญาหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว เก่งมาก ๆ ครับ ผมคุยกับคุณหมอจนจบการจี้ ไม่มีหลับเลย การจี้หมอดูจากกราฟหัวใจในจอเท่านั้น ผมนึกว่าจะมีกล้องส่อง ไม่มี ใช้ความชำนาญและประสบการณ์ของคุณหมอโดยแท้จริง
วันนี้อ้อกับคุณแม่ได้มาทำการ จี้ไฟฟ้าหัวใจ กับ คุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว เนื่องจากเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเร็วหรือSVTที่ #โรงพยาบาลเวชธานี ตอนแรกกลัวๆกล้าๆ แต่พอได้คุยกับคุณหมอแล้วได้เจอพยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเวชธานี รู้สึกอุ่นใจและประทับใจมากค่ะ คุณหมอท่านเก่งจริงๆค่ะ ตอนนี้ไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้วค่ะ
อยู่ดีๆ มีอาการหัวใจเต้นเร็ว..เต้นแรงมาก พยายามนั่งพัก ก้อไม่หาย วัดอัตราการเต้นของหัวใจก้อสูงถึง 150+ เป็นครั้งแรกตกใจมาก หาข้อมูลทางรักษา จี้ไฟฟ้าหัวใจ นานมาก จนมั่นใจหมอที่เชี่ยวชาญด้านนี้ คือ คุณหมอปริวัตรเพ็งแก้ว หลังจากได้หมอก้อคือขั้นตอนการเลือกโรงพยาบาล สอบถามราคาข้อมูลมาหลายที่ ผลสุดท้ายตามหา รพ.เวชธานีจนเจอ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ จังหวะหัวใจผิดเพี้ยน ใช้คลื่นเสียงจี้หาย ไม่ต้องทานยา หัวใจเต้นผิดจังหวะ สม่ำเสมอ ถือได้ว่าเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง อาจส่งผลให้ใจสั่น วูบ หรือรู้สึกหวิวๆ กระทบต่อการชีวิตประจำวัน ดีไม่ดีอาจหมดสติ เราเรียกว่า “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
เราโชคไม่ดีที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด SVTหากเกิดอาการขึ้นหัวใจจะเต้นประมาณ 180-195ครั้ง/นาที จากคนปกติเฉลี่ย 60-100 ครั้ง/นาที ซึ่งมันคิดจะเป็นก็เป็นอย่างฉับพลันโดยไม่มีอาการเตือน คุณหมอบอกว่าโรคนี้กินยาก็ไม่หาย การรักษาที่หายขาดคือการจี้ไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น และเราก็เป็นอยู่จุดที่อันตรายมาก อยู่ใกล้ศูนย์ควบคุมหัวใจซึ่งพลาดไม่ได้เลย คุณหมอว่า “ผมต้องพยายามทำให้สำเร็จผมสงสารคนไข้ผมจะรักษาให้หาย” หลังจากจี้เสร็จคุณหมอบอกว่า #ยาไม่ต้องกินแล้วหายแล้วครับ มันเหมือนได้ชีวิตเกิดใหม่
การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาควบคุมอาการ ซึ่งต้องรับประทานไปตลอดชีวิต แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีรักษาด้วยการสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (EP study with Radiofrequency ablation) โดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจตรงจุดที่มีปัญหา ซึ่งมีโอกาสหายขาดได้ถึงร้อยละ 95 – 98 โดยไม่ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต ส่วนผู้ป่วยที่หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด VT และ Fibrillation บางกลุ่ม ในรายที่จี้ไฟฟ้าไม่ได้จะให้การรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (AICD) สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้าจะให้การรักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นช้าหรือเร็วกว่านี้ก็จะเข้าข่ายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย ในขณะที่คนทั่วไปที่ไม่มีโรคหัวใจก็อาจได้รับผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจได้เช่นกัน ทำให้เมื่อหายจากโรคโควิดแล้วก็ยังมีอาการของหัวใจหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มักพบในผู้ป่วยลองโควิดเป็นจำนวนมาก
อาการใจสั่น ใจหวิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อตื่นเต้น เครียด หรือ กังวล หรือดื่มเครื่องดื่ม การทานยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการได้เช่นกัน แต่ก็ไม่ควรวางใจอยู่ดี เพราะถ้าหากเกิดจากปัญหาสุขภาพก็อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
ความผิดปกติของหัวใจอาจเป็นสัญญาณบอก “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” อยู่ก็เป็นได้ ลองเช็กหัวใจกันหน่อยว่ามีอาการเหล่านี้หรือเปล่า
ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หายใจเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด ตาลาย เป็นลมหมดสติ เป็นอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ผู้ป่วยหลายรายมักไม่รีบมาพบแพทย์ แล้วปล่อยทิ้งไว้จนรบกวนการใช้ชีวิตและมีอาการมากขึ้น เช่น เหนื่อยง่ายจนหัวใจล้มเหลว หมดสติ ลิ่มเลือดไปอุดตันสมองกลายเป็นอัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิต
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเต้นเร็วและเต้นช้ากว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว ,ความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ความเครียด รวมถึงการรับประทานยาหรือได้รับสารบางชนิด เช่น ยาแอมเฟตามีน กาเฟอีน เป็นต้น
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งหนึ่งในวิธีรักษาที่ได้ผลดีคือการสวนและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Radio Frequency Ablation) โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสวนเข้าไปทางหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบและจี้ที่บริเวณต้นกำเนิดของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่หัวใจ
หลายครั้งที่ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคดังกล่าว และมาถึงมือแพทย์ด้วยอาการหมดสติหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแบบกะทันหัน
หัวใจมีอาการเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วเกินไป หรือ ช้าเกินไป อาการเหล่านี้จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปกับ นพ. ปริวัตร เพ็งแก้ว
คุณเคยรู้สึกใจสั่น หรือเหนื่อยง่ายผิดปกติไหม นั่นอาจเป็นอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด หัวใจเต้นช้า และหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอาการแต่ละชนิดมีความอันตรายแตกต่างกัน มาลองเช็คอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ละชนิดได้จากคลิปนี้
กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
Hotline 02 734 0000