นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ - โรงพยาบาลเวชธานี
ค้นหาแพทย์

นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ

จิตเวชศาสตร์ทั่วไป

Departments

จิตเวชศาสตร์ทั่วไป

กลุ่มสาขา

จิตเวชศาสตร์

Educations

2006

  • Advance Course in Child and Adolescent Psychiatry, Royal Free Hampstead NHS, England

2004

  • Doctor of Medicine, Faculty of Medicine Chulalongkorn University

Board certifications

2007

  • Diploma of The Thai Board of Psychiatry

Special clinical trainings

2019

  • Clinical psychopharmacology, Massachusetts General Hospital, Harvard University

2015

  • Stress Management, Harvard Medical School, Harvard University

2008

  • Psychopharmacology, Long acting antipsychotic, University of Melbourne, Australia

Special clinical interest

  • Adolescent psychiatry

Conditions treated

  • Psychiatric disorders
  • Anxiety
  • Depression

Publications

2017

  • Effects of paliperidone extended release on hostility among Thai patients with schizophrenia by Apichat Jariyavilas [Dovepress Neuropsychiatr Dis Treat. 2017; 13: 141-146.]., 01/2017

2013

  • A naturalistic investigat ion of Thai depressed patients with agomelatine-based treatment by A. Jariyavilas [European Neuropsychopharmacology

2009

  • Paliperidone ER Functional ity, Efficacy and Tolerability (PERFECT Study), 01/2009

2006

  • Validity of the Thai version of the Pittburgh Sleep Quality Index (PSQI), 01/2006

2003

  • I will survive, the story of 3 HIV-infected children, There families and stigmatization they faced, 01/2003

Professional membership

  • Member of The Thai Board of Psychiatry

เวลาออกตรวจ

วัน เวลา สถานที่
วันจันทร์ 17:00 - 20:00

คลินิกอายุรกรรม
วันพุธ 17:00 - 20:00

คลินิกอายุรกรรม
วันพฤหัสบดี 17:00 - 20:00

คลินิกอายุรกรรม
วันเสาร์ 13:00 - 20:00

คลินิกอายุรกรรม



สัญญาณโรคซึมเศร้าในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ “ความเศร้า” อย่างเดียว หลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าโรคซึมเศร้าจะมีแค่เศร้า แต่จริง ๆ แล้ว ความเศร้านั้นพบได้คนในปกติทั่วไป แต่โรคซึมศร้านั้นจะประกอบกับอาการอื่นหลายอย่าง เช่น เริ่มมีความเศร้าคุกคามคือเศร้ามาก เศร้านาน หรือบางครั้งที่ไม่มีเรื่องกระตุ้นความเศร้าก็สามารถเกิดความเศร้าได้ ขณะที่บางรายอาจจะไม่ได้รู้สึกเศร้า แต่รู้สึกว่าความสุขหายไป ทำอะไรก็ไม่มีความสุข สิ่งที่เคยชอบทำก็ไม่อยากทำ ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานที่มากหรือน้อยไปจนผิดปกติ การนอนหลับที่ผิดปกติ มีปัญหาเรื่องสมาธิแย่ลง ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองลดลง ถ้าเป็นมาก ๆ อาจจะเหนื่อยอ่อนล้า อ่อนแรง ทำให้การทำงาน การใช้ชีวิตและการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นมาก ๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่อาการ “อยากฆ่าตัวตาย” ได้

ถ้าความเศร้าเริ่มคุกคามแล้วต้องทำอย่างไร
สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ “ตั้งสติ” แล้วเริ่มจดรวบรวมอาการของตัวเอง ว่ามีสาเหตุอะไรชัดเจนบ้าง แล้วลองแก้ที่สาเหตุนั้นในเบื้องต้น แต่ถ้าลองแก้ที่สาเหตุแล้วพบว่ามันมากเกินไป หรือไม่มีสาเหตุ หรือพยายามแก้เรื่องที่เป็นปัจจัยกระตุ้นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น แล้วมีคำว่าอยากตาย หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบจิตแพทย์ทันที

สิ่งที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดในเชิงลบและในเชิงกดดัน เช่น ทำไมเธอไม่แข็งแรง ทำไมเธอไม่พยายาม ทำไมไม่เธอไม่หยุด ประโยคเหล่านี้จะยิ่งทำให้บั่นทอนผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากหลายคนเข้าใจผิดว่า ต้องกดดันหรือต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกฮึกเหิม แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับคนที่ป่วยป็นโรคซึมเศร้า แม้แต่คนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าฟังแล้วยังรู้สึกแย่ได้ ดังนั้นอย่านำคำพูดเหล่านี้มาใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเด็ดขาด เพราะคำพูดกดดันไม่ใช่การช่วยเหลือ

พูดแบบไหนดีต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดที่เป็นการแสดงความรักหรือความห่วงใย ถ้าหากเราไม่รู้จะพูดอะไรแนะนำว่าให้เริ่มจากการรับฟัง เริ่มจากการรับฟังเขาให้มาก ฟังด้วยความตั้งใจ บางครั้งหลาย ๆ คน อยากได้รับฟังอยากได้คนระบาย สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายหรือลดความเศร้าลงได้มากเลยทีเดียว

โรคซึมเศร้ารักษาได้
ปัจจุบันเรามีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเยอะมากๆ แล้วที่สำคัญ “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่สามารถรักษาได้
ถ้าตัวเองหรือคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งแรกที่แนะนำคือรีบไปหาจิตแพทย์ อย่าเก็บเอาไว้ ยิ่งเก็บไว้นานการรักษาจะยิ่งยากขึ้น ถ้าไปเร็วการรักษาก็จะง่ายกว่า ก่อนไปพบจิตแพทย์ถ้าเรามีข้อข้องใจเราสามารถจดบันทึกไว้ได้ก่อน เมื่อไปถึงแล้วก็ปรึกษาจิตแพทย์ได้เลย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเพราะปัจจุบันมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมากมายก็อาจจะมีทั้งที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้ หากได้รับการประเมินวินิจฉัยจากจิตแพทย์แล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริง ๆ เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา ควรรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หายขาดจะดีที่สุด ไม่ควรหยุดหรือปรับยาเอง ควรไปรักษาตามนัดหมาย เพราะโรคซึมเศร้าอาจจะกำเริบกลับมาแล้วอาจจะเป็นหนักกว่าเดิมได้

May 25, 2023

สื่อสารด้วยความใส่ใจและเข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

3 Patient Satisfaction Reviews

5.0 out of 5 stars (based on 3 reviews)
September 7, 2024

ขอบคุณ คุณหมอที่ทำให้ผมกลับมาใช้ชีวิตดีอย่างมีความสุข และยอดเยี่ยม

July 3, 2024

July 3, 2024