บทความสุขภาพ Archives - โรงพยาบาลเวชธานี

ศูนย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กุญแจสำคัญสู่การป้องกันมะเร็งลำไส้
ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตจะพบใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย คือประมาณ 1 ต่อ 25 คน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ศูนย์กุมารเวชกรรม

ลดความรุนแรง RSV ให้ลูกน้อย ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป
หนึ่งในโรคติดเชื้อที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นกังวลมากที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งมักระบาดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี

ศูนย์ไตเทียม

แนวทางการเตรียมตัวและดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการเตรียมตัวของผู้ป่วยและการดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เหมาะสม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบและการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยในระยะยาว การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไต การปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอย่างถูกต้อง มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้ 1. การพักฟื้นที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องพักฟื้นอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล พร้อมช่วยเฝ้าระวังและป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด 2. การทำแบบบันทึกประจำวัน หลังออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องบันทึกอาการต่อเนื่อง เพื่อติดตามการตอบสนองต่อการรักษา โดยรายการที่ควรบันทึก เช่น  หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติโดยเฉพาะมากกว่า 180/100 mmHg, ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือมีสีปัสสาวะเข้มถึงส้ม มีเลือดปน รวมถึงอาการบวมตามตัว ที่หนังตา มือ และเท้า ตลอดจนเกิดอาการรู้สึกปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอยู่ทันที  3. การทำแผลผ่าตัดปลูกถ่ายไต […]

ศูนย์กระดูกสันหลัง

5 ท่ากายบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ Scoliosis เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งผิดปกติเมื่อมองจากด้านหลัง ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติของรูปร่างได้ชัดเจน โดยอาจพบว่าไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกเอียง หรือเอวคอดไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ในผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจส่งผลให้หายใจลำบาก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบ ควรได้รับการรักษากระดูกสันหลังคดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาว กระดูกสันหลังคดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด และความเสื่อมของกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ ดังนั้น การวางแผนการรักษาจึงต้องสอดคล้องกับสาเหตุของโรค เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน การออกกำลังกายในผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด สำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน เพราะอาจส่งผลให้อาการแย่ลง ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากเป็นพิเศษ โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ได้แก่ เพื่อให้อาการดีขึ้นอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยต้องมีโปรแกรมเฉพาะและได้รับการแนะนำโดยแพทย์ชำนาญการเท่านั้น ควรเน้นการออกกำลังกายในท่าที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อบริเวณแกนกลางของลำตัวมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการพยุงและรักษาสมดุลของกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อสะโพก ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันและพยุงกระดูกสันหลัง เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง จะช่วยลดน้ำหนักที่กดทับลงบนกระดูกสันหลัง ทำให้รักษาท่าทางได้ดีขึ้น และช่วยชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง เป็นผลดีต่อการรักษากระดูกสันหลังคด การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง ทำให้สามารถต้านทานแรงกดและแรงบิดที่มากระทำต่อกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น […]

ศูนย์ไตเทียม

6 คำถามเกี่ยวกับ “การปลูกถ่ายไต” ที่ผู้ป่วยไตเรื้องรังควรรู้
“การปลูกถ่ายไต” เป็นทางเลือกการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยในภาวะโรคไตเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม วิธีการปลูกถ่ายไตที่นับได้ว่ามีประสิทธิภาพ ก็ยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งประเภทของการปลูกถ่ายไต ระยะเวลาการใช้งานไตหลังปลูกถ่าย เวลาพักฟื้น การดูแลหลังผ่าตัด ตลอดจนการประมาณค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่าย ซึ่งการทำความเข้าใจกับ 6 คำถามที่พบบ่อยเหล่านี้ จะช่วยให้ญาติและผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ครอบคลุม จนนำไปสู่การตัดสินใจวางแผน พร้อมเลือกแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม 1. การปลูกถ่ายไตแบบ Living กับ Deceased คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ? การปลูกถ่ายไตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักตามแหล่งที่มาของไต ได้แก่ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant) และการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (Deceased Donor Kidney Transplant) 1.1 การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant) แนวทางการปลูกถ่ายโดยรับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต ตามหลักข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะและเซลล์ต้นกำเนิดพ.ศ.2566 ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้รับ อาทิ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา รวมไปถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนหรืออยู่ด้วยกันมาตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด […]

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร น้ำหนักลดลง สุขภาพดีขึ้น
โรคอ้วน เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี นอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจด้านรูปลักษณ์แล้ว ยังก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนและต้องการควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้ามีทางเลือกการลดน้ำหนักที่ดีและปลอดภัยอย่าง “การผ่าตัดกระเพาะอาหาร” (Bariatric Surgery) มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่เห็นผล “การผ่าตัดกระเพาะอาหาร” (Bariatric Surgery) คืออะไร ? การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นการผ่าตัดที่ช่วยลดขนาดของกระเพาะอาหารและตัดศูนย์หิวออก เพื่อลดปริมาณอาหารที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ใช้ในการรักษาโรคอ้วนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย และวิธีนี้จะนำไปสู่การลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดกระเพาะอาหารไม่ใช่ทางลัดในการลดน้ำหนัก แต่เป็นวิธีการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย ประโยชน์จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารรักษาโรคอ้วน วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักโดยใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นเทคนิคแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดตามสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ในปัจจุบันมี 4 วิธี ดังนี้ 1. การผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ออก (Sleeve Gastrectomy) การผ่าตัดส่วนของกระเพาะอาหารออกไปราว 75-80% เพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เหลือความจุประมาณ 150-200 cc ทำให้ความจุของกระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายลดการผลิตฮอร์โมนความหิว […]

ศูนย์โรคทางเดินปัสสาวะ และศูนย์สุขภาพเพศชาย

‘โรคมะเร็งอัณฑะ’ โรคใกล้ตัวที่ผู้ชายต้องรู้
แม้โอกาสการเกิดจะไม่บ่อยเท่ากับมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ ‘มะเร็งอัณฑะ’ ก็เป็นสิ่งที่คุณผู้ชายไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสได้ว่าลูกอัณฑะบวมโตขึ้น หรือมีก้อนเนื้อที่ลูกอัณฑะ ซึ่งก่อนหน้านี้ อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การตระหนักรู้เรื่องโรคมะเร็งอัณฑะอย่างครอบคลุมไปจนถึงวิธีตรวจหามะเร็งลูกอัณฑะเบื้องต้นด้วยตัวเอง เป็นเรื่องที่ควรรู้เพราะโรคนี้ยิ่งตรวจพบได้เร็ว ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ทันท่วงที โอกาสหายขาดยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น มะเร็งอัณฑะคืออะไร มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของลูกอัณฑะ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและสเปิร์ม โดยมะเร็งอัณฑะสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกช่วงวัย แต่ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ 15-35 ปี ถึงแม้มะเร็งอัณฑะ จะไม่ใช่มะเร็งที่พบได้บ่อยเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในผู้ชาย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือช่วงอายุของผู้ป่วยที่ถือว่าค่อนข้างต่ำ ซึ่งมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น มีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งอัณฑะ ภาวะอัณฑะไม่ลงถุง (Cryptorchidism) หรือความผิดปกติของโครโมโซมบางชนิด มีก้อนเนื้อที่ลูกอัณฑะ ลักษณะแบบไหนที่เข้าข่ายเป็นมะเร็ง ? การมีก้อนเนื้อที่ลูกอัณฑะ อาจไม่ได้เป็นสัญญาณของมะเร็งเสมอไป แต่ก็เป็นสัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี การสังเกตลักษณะของก้อนเนื้อ เพื่อประเมินว่าเป็นก้อนเนื้อธรรมดาหรือก้อนเนื้อร้าย ทำให้เราพบรอยโรคได้รวดเร็วมากขึ้นและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม โดยหากคุณพบว่าก้อนเนื้อมีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด วิธีตรวจหามะเร็งลูกอัณฑะด้วยตนเอง การตรวจอัณฑะด้วยตนเอง เป็นวิธีที่ช่วยให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก และสามารถเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยแนะนำให้ตรวจเดือนละครั้ง ซึ่งวิธีตรวจหามะเร็งลูกอัณฑะมีขั้นตอนดังนี้ มีก้อนเนื้อแปลก ๆ ที่ลูกอัณฑะอย่านิ่งนอนใจ รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย มะเร็งอัณฑะมีโอกาสหายขาดสูง หากตรวจเจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติของลูกอัณฑะบวมโตขึ้น […]

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

ปัญหาหลังผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมไปแล้ว นานวันเข้าแม้จะไม่มีการแสดงอาการถึงความเจ็บปวดของข้อเข่า จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ตามที่นัดเพื่อตรวจดูอาการ เพราะอาจจะคิดไปเองว่าไม่เป็นอะไรแล้ว

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

“การผ่าตัดกระเพาะอาหาร” กับ “ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร”
ในยุคที่ปัญหา โรคอ้วน และภาวะน้ำหนักเกินส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การลดน้ำหนักอย่างจริงจัง
91360