บทความสุขภาพ Archives - Page 21 of 145 - โรงพยาบาลเวชธานี

ศูนย์กระดูกสันหลัง

เช็ก 4 อาการบอกโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง ถ้าอาการยังไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์ หรือโรคอยู่ในระยะที่รุนแรงแล้วอาจต้องใช้วิธีผ่าตัด

ศูนย์สุขภาพสตรี

5 ทางแก้ช่องคลอดแห้ง
ภาวะช่องคลอดแห้ง มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายที่ลดลงตามวัย ส่งผลให้เมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง และทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น

ศูนย์สุขภาพสตรี

คำถามยอดฮิต ที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยากรู้
ในปัจจุบัน องค์กรอนามัยโลกได้กำหนดให้วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่คุณแม่ควรฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยักในทารกแรกคลอด นอกจากนี้ คุณแม่ยังควรได้รับวัคซีนอื่น ๆ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือคอตีบ+บาดทะยักในไตรมาสที่ 3 ก่อนคลอดบุตร ทั้งนี้ การรับวัคซีนแต่ละชนิดควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์อีกครั้ง

ศูนย์กระดูกและข้อ

PRP ทางเลือกลดปวด ลดอักเสบ ในโรคกระดูกและข้อ
อาการปวดบวมจากโรคกระดูกและข้อเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อม ข้อไหล่ติด ปวดไหล่เรื้อรัง รองช้ำ โรคข้อเท้าอื่น ๆ กระดูกสะโพกร้าว ข้อเข่าเสื่อม และโรคข้อต่อส่วนอื่นของร่างกาย

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ลด “ผิด” ชีวิตพัง
รูปร่าง และสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนจึงคิดหาวิธีลดหุ่นเพื่อให้ได้รูปร่างที่สมส่วน แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้วิธีลดแบบผิด ๆ

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดฝ่าเท้าเกิดจากอะไร
ปวดฝ่าเท้าด้านหน้า มักเกิดในคนที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ เนื่องจากน้ำหนักตัวจะถ่ายเทไปที่ฝ่าเท้าด้านหน้า บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่นิ้วเท้าและข้อเท้า อีกทั้งยังทำให้ใต้ฝ่าเท้าหรือใต้นิ้วเท้าเกิดหนังด้านด้วย

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

5 ปัจจัยเสี่ยงกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด
ความผิดปกติของสะโพกไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่บางโรคก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนอายุน้อยหรือในวัยทำงาน อย่างเช่นภาวะกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด ซึ่งจะทำให้กระดูกอ่อนตัวลงและไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จนทำให้เกิดการยุบตัวของหัวกระดูกสะโพก และเกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมในที่สุด

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

ริดสีดวงอักเสบทำยังไงดี
คำถามยอดฮิตที่พบได้บ่อยใน Google ริดสีดวงอักเสบถือว่าเป็นภาวะที่พร้อมกับอาการเจ็บปวดรุนแรงจนทำให้ยืนหรือนั่งก็จะมีอาการเจ็บ ทำให้ลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดไหล่ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ต้องรีบรักษาก่อนสายไป
ข้อไหล่เป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยครั้งในแต่ละวันจากการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ซึ่งผลจากการใช้งานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและหายไปเองได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่ามีอาการปวดไหล่เรื้อรังเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด สาเหตุของอาการปวดไหล่ ● พฤติกรรมการนั่งทำงาน คนวัยทำงานเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการปวดไหล่มากที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานบนเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่มีอาการเกร็งจนทำให้รู้สึกปวดเมื่อย รวมไปถึงการนั่งพิมพ์งานในท่าเดิมซ้ำ ๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าบริเวณหัวไหล่และลามไปจนถึงแขนได้ด้วยเช่นกัน ในบางรายอาจรู้สึกว่าอาการปวดนั้นทวีความรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อล้มตัวลงนอน ● ออกกำลังกายหักโหม สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ในบางครั้งการออกกำลังกายหักโหมหรือไม่ยืดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่เกิดการบาดเจ็บ และอาจกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา ● อุบัติเหตุในชีวิตประจำวันหรือการเล่นกีฬา บางครั้งอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างการหกล้มหรือการเดินชนสิ่งกีดขวางก็อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ รวมไปถึงผู้ที่เล่นกีฬาอาจมองว่าการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการปวดไหล่เป็นเรื่องปกติ และอาการบาดเจ็บเหล่านั้นจะหายได้เองจึงหลีกเลี่ยงการพบแพทย์ จนเกิดอาการปวดไหล่เรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในที่สุด ปวดไหล่แบบนี้ ไม่ดีแน่นอน อาการปวดไหล่ไม่ใช่แค่การอักเสบของกล้ามเนื้อและสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการนวดคลายกล้ามเนื้อหรือใช้ยาทาภายนอก แต่ถ้ามีอาการปวดเรื้อรังนานหลายสัปดาห์และเริ่มมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณว่าไม่ใช่การปวดไหล่ธรรมดาที่ต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยทันที การรักษาอาการปวดไหล่ ● รักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งสามารถทำเองได้ที่บ้านหรือเข้ารับการทำกายภาพบำบัดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งพักการใช้งานแขนเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ● รักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ที่จะช่วยให้แผลมีขนาดเล็กเพียง […]
1891299