บทความสุขภาพ Archives - Page 56 of 145 - โรงพยาบาลเวชธานี

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคดรักษาไว ไม่ต้องผ่าตัด
พ่อแม่ต้องสังเกตโครงสร้างร่างกายลูกตั้งแต่วัยเด็ก หากเดินตัวเอียง ระดับหน้าอก สะโพกและหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังคด แต่ถ้าหาหมอเร็วสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด   กระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่มีภาวะกระดูกสันหลังคดตั้งแต่วัยเด็กและเห็นได้ชัดขึ้นหรือคดมากขึ้นเมื่ออยู่ในวัยเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง โดยการคดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือการคดแบบตัวซี (C) และการคดแบบตัวเอส (S) ซึ่งการคดแบบตัวซีเป็นการคดหนึ่งตำแหน่ง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาจทำให้ไหล่กับสะโพกไม่เท่ากัน หากปล่อยไว้นาน ๆ หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนกระดูกคดเป็นลักษณะตัวเอสคือเป็นการคด 2 ตำแหน่ง เนื่องจากเมื่อความคดของกระดูกสันหลังในจุดหนึ่งมีมากจนร่างกายไม่สามารถมีสมดุลที่ดีได้ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลให้เกิดขึ้นใหม่โดยการงอกระดูกสันหลังส่วนที่เหลือไปอีกด้าน จึงทำให้กระดูกสันหลังคดเป็นลักษณะคล้ายตัวเอส ซึ่งอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย นายแพทย์ภัทร โฆสานันท์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า นอกจากลักษณะของการคดแล้ว ยังมีการวัดมุมหรือความคดของแนวกระดูกสันหลังเป็นองศา หรือที่เรียกว่า Cobb angle โดยสามารถเห็นได้จากการเอกซเรย์ โดยโรคกระดูกสันหลังคดส่วนมากสังเกตได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น เช่น ระดับของหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ,กระดูกสะบักยุบนูนต่างกัน ,ระดับหน้าอกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ,ในเด็กผู้หญิงหน้าอกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ส่วนในเด็กผู้ชายอาจสังเกตได้จากระดับหัวนมไม่เท่ากัน ,สะโพกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน […]

ศูนย์กระดูกและข้อ

“ยกแขนไม่ขึ้น” สัญญาณของข้อไหล่ติด
ข้อไหล่ติดเกิดจากช่องในข้อไหล่แคบลง เพราะเยื่อหุ้มและแคปซูลในข้อไหล่หนาตัวเป็นพังผืดและตึงขึ้นรอบ ๆ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลง สังเกตได้ด้วยการยกแขนขึ้นให้สุดโดยที่ใบหน้าและลำคอตั้งตรง

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

กินเท่าไหร่ถึงพอดี…ไม่อ้วน
หลายคนมักบ่นว่าแต่ละมื้อไม่ได้กินเยอะ ทำไมถึงอ้วน คุณอาจลืมไปว่าระหว่างวัน #มีมื้อเล็กมื้อน้อย #กินจุกจิกเรื่อยเปื่อย ทำให้ร่างกายได้รับแคลอรีเกินความจำเป็น

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง “คด” เกิดขึ้นจากอะไร
โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการบิดเอียงจากแนวปกติเกินกว่า 10 องศา ซึ่งการคดนั้นสามารถเกิดได้ในกระดูกสันหลังทุกระดับ และเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

บริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อเข่า
การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้ามเนื้อในการเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก

ศูนย์กระดูกและข้อ

Surf Skate กีฬายอดฮิตที่เสี่ยงกระดูกหักง่ายถ้าไม่ป้องกัน
กีฬายอดนิยมในยุคปัจจุบันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงเล่นกันทุกเพศทุกวัย คงหนีไม่พ้น Surf Skate กีฬาเอ็กซ์ตรีมบนแผ่นกระดานที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างสเก็ตบอร์ดกับกีฬาเซิร์ฟ โดยอาศัยความแข็งแรงของกำลังขาและแกนกลางลำตัวในการทรงตัว

ศูนย์กระดูกและข้อ

เท้าแบน อุปสรรคของนักวิ่งจริงหรือ ?
นักวิ่งที่มีภาวะเท้าแบนมีความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บมากกว่าผู้ที่มีเท้าปกติ และพบว่าผู้มีภาวะเท้าแบนจะมีอาการเจ็บหน้าแข้งด้านใน และอาการปวดเข่าด้านหน้า ที่เกิดขึ้นกับนักวิ่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะการมีเท้าแบนมีผลต่ออาการบาดเจ็บของนักวิ่ง

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงนิ้วล็อก ได้ถึง 4 เท่า !
“นิ้วล็อก” โรคที่เกิดจากการใช้งานนิ้วมือหนักๆ ไม่พักบ้าง หรือเกิดจากการกำ เกร็งมือบ่อย ๆ มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ทำกิจกรรมหยิบจับสิ่งของอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะบิดผ้าด้วยมือ หิ้วของหนัก แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว “เพราะพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานสามาถเป็นนิ้วล็อกมากถึง 4 เท่า แถมร้อยละ 4 นั้นเป็นมากกว่าหนึ่งนิ้ว!” นอกจากคนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วยังพบในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคไต โรคของต่อมไทรอยด์ และโรคในกลุ่มรูมาตอย อาจจะทำให้เป็นนิ้วล็อก เพราะเกิดจากโรคประจำตัวได้เช่นกัน ดังนั้น หากคิดว่าเป็นนิ้วล็อกในระยะแรกๆ หรือเริ่มมีอาการเจ็บฝ่ามือ เวลาเคลื่อนไหวนิ้วจะมีความรู้สึกสะดุด แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม หรือบางคนเป็นนิ้วล็อกแล้ว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยวิธี “สะกิดนิ้วล็อก” โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อก จากนั้น ใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

นวัตกรรมจบปัญหา ” อ า ก า ร ป ว ด “
การกายภาพบำบัดยังสามารถนำมาฟื้นฟูให้กับคนที่ทรมานจากอาการปวด ตั้งแต่อาการปวดเมื่อยจากการทำงาน โรคออฟฟิศซินโดรม ปวดเส้นประสาท ปวดจากข้อต่ออักเสบหรือเสื่อม
5041299