บทความสุขภาพ Archives - Page 60 of 146 - โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

Result 532 - of

ศูนย์สุขภาพสตรี

อาการปวดท้องกับโรคช็อกโกแลตซีสต์
โรคช็อกโกแลตซีสต์ โรคช็อกโกแลตซีสต์หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis) เป็นโรคที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเมื่อถึงรอบประจำเดือน แล้วไปเจริญนอกโพรงมดลูก ซึ่งทางการแพทย์ อธิบายการเกิดได้หลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ผ่านท่อนำไข่แล้วฝังตัวที่รังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำ และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นในแต่ละเดือน กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน นับตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่จะสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย มีประจำเดือนรอบสั้น โดยเฉพาะรอบห่างของประจำเดือนน้อยกว่า 27วัน มีประจำเดือนมาก หรือนานกว่า 7 วันต่อครั้ง มีสมาชิกในครอบครัว เช่น แม่ ยาย พี่สาว มีประวัติเป็นโรคนี้ มีความผิดปกติเกี่ยวกับทางออกของประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยที่มีเยื่อพรหมจารีปิด หรือมีความผิดปกติที่ปากมดลูก อาการของช็อกโกแลตซีสต์ ผู้ป่วยโรคช็อกโกแลตซีสต์ อาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน แต่จะมีอาการที่พบได้บ่อย ที่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องกินยาแก้ปวด ปวดบริเวณอื่นร่วมด้วยเวลามีประจำเดือน เช่นปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ท้องอืด ท้องเสีย และปวดมากเวลาถ่ายอุจจาระในช่วงที่มีประจำเดือน มีอาการปวดที่มดลูกหรือท้องน้อย ขณะมีเพศสัมพันธ์ มีภาวะมีบุตรยาก ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ภาวะแทรกซ้อน ของช็อกโกแลตซีสต์และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หากเป็นมากขึ้น อาจเกิดกรณีต่อไปนี้ เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน […]

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

4 จุดซ่อนเร้นของไขมัน
“ไขมัน” จะมีประโยชน์ ต่อเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่พอดี แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ได้รับมากเกินไป จะเกิดการสะสมของไขมันตามจุดต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งจุดสำคัญที่มักเกิดการสะสม มีดังนี้ ช่องท้อง การสะสมที่บริเวณมักเรียกกันว่า อ้วนลงพุง ยิ่งสะสมมาก

ศูนย์กระดูกสันหลัง

อาการและพฤติกรรมเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมประเภทหนึ่ง โดยเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกถูกทำลายเสียหายจนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นผลจากการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างหนักเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง สัญญาณของโรคนี้คืออาการชา อ่อนแรง ปวดหลังลามลงไปที่ขาหรือเท้า อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ หากเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นบริเวณข้อด้านล่างของกระดูกเอว ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงและพบได้บ่อยที่สุด อาจเสี่ยงอาการรุนแรงและจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือเอวด้านล่าง อาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยอาการจะเด่นชัดขึ้นเมื่อไอ จาม หรือนั่งงอตัว ปวดขา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขาจะทำให้มีอาการปวดเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายในบางท่า ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ขา ลงไปถึงเท้า นอกจากนี้อาจมีอาการชา ปวดร้าวลงขา และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น หลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ แบกของหนัก การแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะการแบกของที่ผิดท่าอาจทำให้ใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ก้มเงยบ่อย หรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ เล่นสมาร์ทโฟน รวมถึงการนั่งท่าเดิมโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งผิดท่า เช่น งอหลัง ก้มคอ […]

ศูนย์หัวใจ

8 สัญญาณโรคลิ้นหัวใจ
ทำหน้าที่เป็นประตูกั้นระหว่างห้องหัวใจทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติอาจส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยโรคลิ้นหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ศูนย์ตา

มองโลกได้คมชัด ด้วยเลสิกแบบไร้ใบมีด (Femto LASIK)
ในปัจจุบัน นอกจากการใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์แล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตาอีกหลากหลายวิธี ทั้งการแก้ไขด้วยเลเซอร์แบบมีใบมีดและไร้ใบมีด รวมถึงการผ่าตัดฝังเลนส์ที่ดวงตา โดยวิธีการทำเลสิกแบบไร้ใบมีดนั้น นับว่าเป็นวิธีการแก้ไขค่าสายตาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะให้ผลการรักษาที่แม่นยำ

ศูนย์อายุรกรรม

ปวดหัวเป็นประจำอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังและร้ายแรงได้
ปวดหัว ! เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเพราะอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง รวมทั้งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้หากไม่รีบรักษา ปวดหัว หลายคนอาจมองว่าเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ กินยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ความจริงแล้วอาการปวดหัวนั้นมีหลายชนิด

ศูนย์สุขภาพสตรี

อย่าวางใจ อายุเท่าไหร่ ก็มีเนื้องอกได้
มื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หมายถึงวัยที่เริ่มมีประจำเดือน ทุกคนมีโอกาสที่จะเกิดโรคทางนรีเวชได้ เช่น เนื้องอกมดลูก หรือเนื้องอกในรังไข่ อย่างโรคเนื้องอกในรังไข่ สามารถเกิดขึ้นได้ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่เป็นถุงน้ำหรือซีสต์ในรังไข่

ศูนย์หัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ
ลิ้นหัวใจ ทำหน้าที่เป็นประตูกั้นระหว่างห้องหัวใจทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติอาจส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ศูนย์อายุรกรรม

7 สัญญาณรู้ทันวัณโรค
24 มีนาคมของทุกปี สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD: International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) ได้กำหนดเป็นวันวัณโรคโลก
5401313