ศูนย์กระดูกสันหลัง
อาการและพฤติกรรมเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมประเภทหนึ่ง โดยเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกถูกทำลายเสียหายจนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นผลจากการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างหนักเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง สัญญาณของโรคนี้คืออาการชา อ่อนแรง ปวดหลังลามลงไปที่ขาหรือเท้า อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ หากเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นบริเวณข้อด้านล่างของกระดูกเอว ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงและพบได้บ่อยที่สุด อาจเสี่ยงอาการรุนแรงและจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือเอวด้านล่าง อาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยอาการจะเด่นชัดขึ้นเมื่อไอ จาม หรือนั่งงอตัว ปวดขา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขาจะทำให้มีอาการปวดเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายในบางท่า ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ขา ลงไปถึงเท้า นอกจากนี้อาจมีอาการชา ปวดร้าวลงขา และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น หลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ แบกของหนัก การแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะการแบกของที่ผิดท่าอาจทำให้ใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ก้มเงยบ่อย หรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ เล่นสมาร์ทโฟน รวมถึงการนั่งท่าเดิมโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งผิดท่า เช่น งอหลัง ก้มคอ […]