ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดแบบองค์รวมและครอบคลุม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หนึ่งในการรักษาที่เรามีความพร้อม คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow/Stem Cell Transplantation)
การปลูกถ่ายไขกระดูก มีทั้งการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเอง หรือของบุคคลที่มีความเข้ากันได้ของระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระบบเลือดอื่น ๆ หรือมะเร็งเซลล์สืบพันธุ์บางชนิด
ทั้งนี้ การศึกษามะเร็งในปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวาง นำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งที่หลากหลายและบางกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยการเลือกวิธีในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ลักษณะของเซลล์ การแสดงออกทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ระยะของโรค ตำแหน่งของโรค รวมถึงสุขภาพความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อเลือกการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
Life Cancer Center โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 2200, 2204
ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดแบบองค์รวมและครอบคลุม
การปลูกถ่ายไขกระดูก มีทั้งการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเอง หรือของบุคคลที่มีความเข้ากันได้ของระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระบบเลือดอื่น ๆ หรือมะเร็งเซลล์สืบพันธุ์บางชนิด
ทั้งนี้ การศึกษามะเร็งในปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวาง นำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งที่หลากหลายและบางกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยการเลือกวิธีในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ลักษณะของเซลล์ การแสดงออกทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ระยะของโรค ตำแหน่งของโรค รวมถึงสุขภาพความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อเลือกการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
Life Cancer Center โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 2200, 2204
การปลูกถ่ายไขกระดูก รักษาโรคมะเร็งเลือด
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน สามารถพบได้หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยจากรายงานการวิจัยพบว่า หลังการฉีดวัคซีน 2 ชนิด Astrazeneca และ Johnson & Johnson จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
ดูให้จบ! แล้วจะรู้ว่าทำไมถึงเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด
ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่อง Digital Breast Tomosynthesis (DBT) เป็นแบบ 3 มิติ ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า สามารถแยกก้อนเนื้อในเต้านมที่แน่น (dense breast) ได้อย่างชัดเจน ลดการทับซ้อนของเนื้อและให้ภาพละเอียดมากขึ้น เป็นวิธีที่ดีกว่าเครื่องแมมโมแกรม 2 มิติในการค้นพบมะเร็งเต้านม
การทำอัลตราซาวดน์ช่วยในการวินิจฉัยโดยแสดงขนาดและขอบเขตของก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ โดยทำได้ทันทีโดยไม่ต้องดมยาสลบ และสามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ทันที ด้วยขนาดแผลเล็ก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลและไม่ต้องรับยาสลบ
ศูนย์เต้านม ชั้น 3 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 2715, 2716
HPV เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย เป็นอันดับ 2 หลังมะเร็งเต้านม มีผู้ป่วยราว 10,000 ราย/ปี สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก 90% คือการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ชนิดก่อมะเร็ง (Oncogenic HPV) หรือชนิดความเสี่ยงสูง (High-Risk) ซึ่งการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อดังกล่าว แบบคงอยู่นาน (Persistent Infection) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
แพ็กเกจ วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ คลอบคลุมสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 2 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. (02) 734 – 0000 ต่อ 3200,3204
ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่อง Digital Breast Tomosynthesis (DBT) เป็นแบบ 3 มิติ ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า สามารถแยกก้อนเนื้อในเต้านมที่แน่น (dense breast) ได้อย่างชัดเจน ลดการทับซ้อนของเนื้อและให้ภาพละเอียดมากขึ้น เป็นวิธีที่ดีกว่าเครื่องแมมโมแกรม 2 มิติในการค้นพบมะเร็งเต้านม
การทำอัลตราซาวดน์ช่วยในการวินิจฉัยโดยแสดงขนาดและขอบเขตของก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ โดยทำได้ทันทีโดยไม่ต้องดมยาสลบ และสามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ทันที ด้วยขนาดแผลเล็ก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลและไม่ต้องรับยาสลบ
ศูนย์เต้านม ชั้น 3 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 2715, 2716
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอปลูกถ่ายไตกว่า 6,000 คน โดยเฉลี่ยหนึ่งคนจะรอประมาณ 4-5 ปี ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายคือ ภาวะที่ไตทำงานน้อยกว่า 15% จะมีอาการปัสสาวะผิดปกติ มีฟองมากขึ้น ปัสสาวะกลางคืนบ่อย สีขุ่น มีเลือดปน ตาบวมหน้าบวมหลังตื่นนอน ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หน้าซีด ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน
โรงพยาบาลเวชธานีมีอายุรแพทย์โรคไตที่จะเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ถ้าผู้ป่วยเหมาะสมกับการฟอกไตก็จะแนะนำการฟอกไตต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการปลูกถ่ายไต ก็จะมีการแนะนำขั้นตอน เตรียมความพร้อมการผ่าตัดด้วยทีมสหวิชาชีพ หลังผ่าตัดจะมีห้องปลอดเชื้อในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง จนกว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรง
วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ดีที่สุดคือ การปลูกถ่ายไต ที่สามารถทำให้ไตกลับมาทำงานปกติใกล้เคียงกับของเดิม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อายุยืน และไม่ต้องกลับมาฟอกไตอีกตลอดชีวิต
การรับบริจาคไตเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนไตมี 2 วิธี คือ การบริจาคจากญาติพี่น้อง สามีภรรยา ที่ยังมีชีวิต มีโอกาสสำเร็จเกิน 95 % หรือไปลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลที่เป็นสมาชิกของสภากาชาดไทย เพื่อรอรับบริจาคไตจากผู้บริจาคสมองตาย
แม้ว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฟอกไตอีกต่อไปแล้ว แต่ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตสำเร็จก็ยังมีความจำเป็นต้องมาพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง และดูแลตัวอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตไปตลอดชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเคร่งครัด ลดการอยู่ในที่ชุมชนที่แออัด เสี่ยงต่อโรค หรืออยู่ในที่ที่สิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ควรล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ไม่แนะนำให้คลุกคลีกับสัตว์ แต่หากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้รักษาความสะอาดภายในบ้านให้ดีเยี่ยม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และมีความซับซ้อนสูง ต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ รวมถึงมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หากผู้ป่วยต้องการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี
ศูนย์ไตเทียม ชั้น 4 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 5021
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นภาวะที่หลอดเลือดหัวใจเกิดการตีบแคบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ ซึ่งหากหลอดเลือดมีการตีบตันหลายตำแหน่งหรือหลายเส้น แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ปัจจุบันมีเทคนิคที่เรียกว่าการผ่าตัดบายพาสหัวใจด้วยเทคนิค “โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม” (Off-Pump CABG) ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาจากการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ลดอัตราการเสียเลือดลดลง ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
นายแพทย์ชวกร เหลี่ยมไพรบูรณ์ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือการที่หลอดเลือดหัวใจมีการตีบหรือตันเลือดจึงไม่สามารถไหลผ่านได้สะดวก ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง ซึ่งการตีบหรือตันเกิดจากการที่มีไขมันหรือหินปูนเกาะในหลอดเลือด โดยมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว เช่น โรคไขมันในหลอดเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่
ทั้งนี้ เมื่อเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะก่อให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หากเป็นมากขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะฉะนั้นหากเริ่มมีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีหลายวิธี ตั้งแต่การรับประทานยา, การทำบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด, ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจมีการตีบตันหลายตำแหน่งหรือหลายเส้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพื่อให้เลือดได้ไหลผ่านแทนหลอดเลือดเดิมที่ตีบตัน
การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจวิธีที่ทำกันมานาน และยังทำเป็นมาตรฐานอยู่ เป็นการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump CABG) ร่วมกับทำให้หัวใจหยุดเต้น แพทย์จะสามารถผ่าตัดได้อย่างสะดวก แต่จากการศึกษาพบว่าเครื่องปอดและหัวใจเทียมอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะอักเสบในร่างกาย อาจทำให้การฟื้นตัวและการทำงานของหัวใจลดลง อีกทั้งยังส่งผลต่อเกล็ดเลือดและการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหลังผ่าตัดได้
ในปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดที่เรียกว่า การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช่เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) เป็นวิธีผ่าตัดที่หัวใจไม่หยุดเต้นในระหว่างการผ่าตัด โดยแพทย์จะนำเครื่องมือเข้ามาเกาะยึดหัวใจให้หยุดนิ่งในตำแหน่งที่จะทำการผ่าตัด โดยที่หัวใจยังเต้นอยู่ สามารถผ่าตัดได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
ลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เสียเลือดน้อยกว่า ลดอัตราการเติมเลือดในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด ลดระยะเวลาการผ่าตัดและดมยาสลบสั้นลง ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ระยะพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นลง ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจด้วยเทคนิคไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นทางเลือกการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้เทคนิคนี้ จึงจะช่วยให้การผ่าตัดรวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด และปลอดภัยกับตัวผู้ป่วยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการรักษา
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300
การผ่าตัดหลังแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery: MIS) เป็นทางเลือกในการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่าง เช่น แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย อาการปวดหลังผ่าตัดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว
ในวิดีโอนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับการผ่าตัดหลังแบบ MIS กันมากขึ้น ว่าคืออะไร มีข้อดีอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง
นอกจากนี้ เราจะพาไปดูขั้นตอนการผ่าตัดหลังแบบ MIS ผ่านภาพและวิดีโอ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ศูนย์กระดูกสันหลัง ชั้น 2 อาคาร King of Bones โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500