วิดีโอสุขภาพ Archives - โรงพยาบาลเวชธานี

บอกลาอาการปวดหลังร้าวลงขา ด้วยเทคนิคการผ่าตัด MIS TLIF โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทั้งวัยทำงานและผู้สูงอายุ หรือมีอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังมาก่อน จนทำให้กระดูกสันหลังหรือหมอนรองมีภาวะเสื่อมเร็วมากกว่าปกติ ส่งผลทำให้ มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ชา และมีอาการร้าวลงขา เดินลำบาก โดยอาการปวดมักจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ยืน พอนั่งพักอาการมักจะดีขึ้น 

การรักษาจะมี 3 วิธีดังนี้ 

  • กินยาตามอาการ, ทำกายภาพบำบัด ควบคู่ไปกับการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ เช่น ลดการนั่งนาน งดการยกของหนัก 
  • การฉีดยาเข้าโพรงประสาทสันหลัง เพื่อช่วยลดการอักเสบหรืออาการปวดหลังร้าวลงขาจากการกดทับเส้นประสาท 
  • แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการเป็นมากขึ้น เช่น อ่อนแรง ควบคุมปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ การผ่าตัดเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่ช่วยลดอาการและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก MIS TLIF (Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody Fusion) ซึ่งเป็นการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก ที่ช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลัง

ข้อดีของการผ่าตัดแบบ MIS TLIF

  • แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว 
  • ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้าง 
  • ลดความเสี่ยงติดเชื้อ และเสียเลือดน้อย 
  • ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้เหมาะกับคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) ที่มีภาวะความไม่มั่นคง (Instability) ร่วม หรือ ภาวะกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี 
โทร. 02-734-0000

ศูนย์กระดูกสันหลัง

โรคกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทรักษาด้วย MIS TLIF | โรงพยาบาลเวชธานี

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอปลูกถ่ายไตกว่า 6,000 คน โดยเฉลี่ยหนึ่งคนจะรอประมาณ 4-5 ปี ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายคือ ภาวะที่ไตทำงานน้อยกว่า 15% จะมีอาการปัสสาวะผิดปกติ มีฟองมากขึ้น ปัสสาวะกลางคืนบ่อย สีขุ่น มีเลือดปน ตาบวมหน้าบวมหลังตื่นนอน ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หน้าซีด ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

แนวทางการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

  1. ล้างไตทางช่องท้อง  
  2. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  
  3. ปลูกถ่ายไต  

โรงพยาบาลเวชธานีมีอายุรแพทย์โรคไตที่จะเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ถ้าผู้ป่วยเหมาะสมกับการฟอกไตก็จะแนะนำการฟอกไตต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการปลูกถ่ายไต ก็จะมีการแนะนำขั้นตอน เตรียมความพร้อมการผ่าตัดด้วยทีมสหวิชาชีพ หลังผ่าตัดจะมีห้องปลอดเชื้อในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง จนกว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรง

การผ่าตัดเปลี่ยนไต

วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ดีที่สุดคือ การปลูกถ่ายไต ที่สามารถทำให้ไตกลับมาทำงานปกติใกล้เคียงกับของเดิม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อายุยืน และไม่ต้องกลับมาฟอกไตอีกตลอดชีวิต 

การรับบริจาคไตเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนไตมี 2 วิธี คือ การบริจาคจากญาติพี่น้อง สามีภรรยา ที่ยังมีชีวิต มีโอกาสสำเร็จเกิน 95 % หรือไปลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลที่เป็นสมาชิกของสภากาชาดไทย เพื่อรอรับบริจาคไตจากผู้บริจาคสมองตาย

การดูแลตัวเองหลังเปลี่ยนไต

แม้ว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฟอกไตอีกต่อไปแล้ว แต่ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตสำเร็จก็ยังมีความจำเป็นต้องมาพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง และดูแลตัวอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตไปตลอดชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย 

ด้วยเหตุนี้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเคร่งครัด ลดการอยู่ในที่ชุมชนที่แออัด เสี่ยงต่อโรค หรืออยู่ในที่ที่สิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ควรล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ไม่แนะนำให้คลุกคลีกับสัตว์ แต่หากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้รักษาความสะอาดภายในบ้านให้ดีเยี่ยม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 


การผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และมีความซับซ้อนสูง ต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ รวมถึงมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หากผู้ป่วยต้องการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์ไตเทียม ชั้น 4 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 5021

ศูนย์ไตเทียม

ผ่าตัดเปลี่ยนไต ความหวังของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคข้อเสื่อมและอาการปวดเข่าส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ยิ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ปวดเข่าเรื้อรังข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าผิดรูป เดินลำบาก ข้อฝืดหรือข้อติดส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลเวชธานี มีแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมให้บริการตรวจรักษาโรคที่เกิดจากภาวะข้อเสื่อม โรคข้อเข่าต่างๆ เช่น ข้อเข่าอักเสบ หมอนรองกระดูกเข่าปลิ้นหรือฉีกขาดปวดเข่าหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกับข้อเข่า การรักษามีตั้งแต่การทำกายภาพบำบัด ใช้ยา การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อสังเคราะห์ ฉีดพลาสมา (PRP) และผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Surgery: CAS) ในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง ข้อผิดรูป และข้อยึดติดมาก หรือการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมหมอนรองกระดูกเข่า ซึ่งแผลมีขนาดเล็กเพียง 5-7 มิลลิเมตร ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปวดเข่าข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ หายจากความทรมานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า ยังรักษาโรคข้อสะโพกต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ข้อสะโพกเสื่อม หัวกระดูกสะโพกตาย หรือสะโพกหักจากอุบัติ ฯลฯ ภายใน 24 ชั่วโมง โดยแพทย์เฉพาะทางและอุปกรณ์การรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บปวดและกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

สูงวัยสะโพกหัก รักษาไวภายใน 24 ชั่วโมง ฟื้นตัวเร็ว ลดโอกาสนอนติดเตียง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกและข้อ
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2299

ศูนย์กระดูกและข้อ

Biologic Collagen Patch ช่วยลดปัญหาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดซ้ำหลังผ่าตัด

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow/Stem Cell Transplantation) การปลูกถ่ายไขกระดูก มีทั้งการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเอง หรือของบุคคลที่มีความเข้ากันได้ของระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระบบเลือดอื่นๆ หรือมะเร็งเซลล์สืบพันธุ์บางชนิด

ทั้งนี้ การศึกษามะเร็งในปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวาง นำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งที่หลากหลายและบางกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยการเลือกวิธีในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ลักษณะของเซลล์ การแสดงออกทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ระยะของโรค ตำแหน่งของโรค รวมถึงสุขภาพความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อเลือกการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง ชั้น 5 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2200, 2272

ศูนย์มะเร็ง

ปลูกถ่ายไขกระดูก ความหวังของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด

ผู้สูงอายุหกล้มอันตราย ต้องรีบพบแพทย์ 

ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ มักประสบภาวะกระดูกพรุน ประกอบการทรงตัวที่ไม่คล่องแคล่วกระฉับกระเฉงเท่าวัยหนุ่มสาว จึงมักเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการหกล้มและกระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพก เนื่องจากเป็นบริเวณหลักในการรับแรงกระแทก

  •  สังเกตอาการกระดูกสะโพกหัก
    • เจ็บมากจนขยับไม่ไหว
    • ลงน้ำหนักหรือยืนไม่ได้
    • ช่วงปลายเท้าเย็น เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงได้น้อยลง
    • มีรอยฟกช้ำ บวม และรู้สึกขัดบริเวณสะโพก

กระดูกสะโพกหัก จำเป็นต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วน กระดูกสะโพกหัก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร็วที่สุด ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา อาทิ เป็นผู้ป่วยติดเตียง เกิดแผลกดทับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในกระแสเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม ชั้น 2 อาคาร King of Bones โรงพยาบาลเวชธานี 
โทร. 02-7340000 ต่อ 2222 , 2224

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ รักษาเร็วฟื้นตัวไว I โรงพยาบาลเวชธานี

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดแบบองค์รวมและครอบคลุม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หนึ่งในการรักษาที่เรามีความพร้อม คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow/Stem Cell Transplantation)

การปลูกถ่ายไขกระดูก มีทั้งการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเอง หรือของบุคคลที่มีความเข้ากันได้ของระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระบบเลือดอื่น ๆ หรือมะเร็งเซลล์สืบพันธุ์บางชนิด

ทั้งนี้ การศึกษามะเร็งในปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวาง นำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งที่หลากหลายและบางกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยการเลือกวิธีในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ลักษณะของเซลล์ การแสดงออกทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ระยะของโรค ตำแหน่งของโรค รวมถึงสุขภาพความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อเลือกการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Life Cancer Center โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 2200, 2204

ศูนย์มะเร็ง

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดแบบองค์รวมและครอบคลุม 

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow/Stem Cell Transplantation)

การปลูกถ่ายไขกระดูก มีทั้งการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเอง หรือของบุคคลที่มีความเข้ากันได้ของระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระบบเลือดอื่น ๆ หรือมะเร็งเซลล์สืบพันธุ์บางชนิด

ทั้งนี้ การศึกษามะเร็งในปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวาง นำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งที่หลากหลายและบางกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยการเลือกวิธีในการรักษา แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ลักษณะของเซลล์ การแสดงออกทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ระยะของโรค ตำแหน่งของโรค รวมถึงสุขภาพความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อเลือกการรักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือยารักษามะเร็งก็ตาม โดยเป้าหมายคือให้การรักษาที่หวังผลได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับความพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Life Cancer Center โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 2200, 2204

ศูนย์มะเร็ง

การปลูกถ่ายไขกระดูก รักษาโรคมะเร็งเลือด

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน สามารถพบได้หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยจากรายงานการวิจัยพบว่า หลังการฉีดวัคซีน 2 ชนิด Astrazeneca และ Johnson & Johnson จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย

ศูนย์อายุรกรรม

ดูให้จบ! แล้วจะรู้ว่าทำไมถึงเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด
9126