วีดีโอสุขภาพ Archives - Page 2 of 14 - โรงพยาบาลเวชธานี

หลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มักเกิดในผู้ชายที่อายุมากกว่า 55 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี หรือคนที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมัน สูบบุหรี่เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนคนที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ซึ่งโรคนี้มักไม่แสดงอาการตั้งแต่ระยะแรก

แต่ถ้า ! ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บจุกเหมือนมีอะไรกดทับที่หน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติหรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น นั้นแปลว่าหลอดเลือดมีภาวะตีบมากกว่าร้อยละ 50 แล้ว ดังนั้น การตรวจหาความผิดปกติหรือการตรวจเช็กการทำงานของหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง จะค้นพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกและทำให้การรักษาไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300

ศูนย์หัวใจ

เจ็บหน้าอก ระวัง! หลอดเลือดหัวใจตีบ อันตรายถึงตาย!

สัญญาณโรคซึมเศร้าในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ “ความเศร้า” อย่างเดียว หลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าโรคซึมเศร้าจะมีแค่เศร้า แต่จริง ๆ แล้ว ความเศร้านั้นพบได้คนในปกติทั่วไป แต่โรคซึมศร้านั้นจะประกอบกับอาการอื่นหลายอย่าง เช่น เริ่มมีความเศร้าคุกคามคือเศร้ามาก เศร้านาน หรือบางครั้งที่ไม่มีเรื่องกระตุ้นความเศร้าก็สามารถเกิดความเศร้าได้ ขณะที่บางรายอาจจะไม่ได้รู้สึกเศร้า แต่รู้สึกว่าความสุขหายไป ทำอะไรก็ไม่มีความสุข สิ่งที่เคยชอบทำก็ไม่อยากทำ ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานที่มากหรือน้อยไปจนผิดปกติ การนอนหลับที่ผิดปกติ มีปัญหาเรื่องสมาธิแย่ลง ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองลดลง ถ้าเป็นมาก ๆ อาจจะเหนื่อยอ่อนล้า อ่อนแรง ทำให้การทำงาน การใช้ชีวิตและการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นมาก ๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่อาการ “อยากฆ่าตัวตาย” ได้

ถ้าความเศร้าเริ่มคุกคามแล้วต้องทำอย่างไร
สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ “ตั้งสติ” แล้วเริ่มจดรวบรวมอาการของตัวเอง ว่ามีสาเหตุอะไรชัดเจนบ้าง แล้วลองแก้ที่สาเหตุนั้นในเบื้องต้น แต่ถ้าลองแก้ที่สาเหตุแล้วพบว่ามันมากเกินไป หรือไม่มีสาเหตุ หรือพยายามแก้เรื่องที่เป็นปัจจัยกระตุ้นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น แล้วมีคำว่าอยากตาย หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบจิตแพทย์ทันที

สิ่งที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดในเชิงลบและในเชิงกดดัน เช่น ทำไมเธอไม่แข็งแรง ทำไมเธอไม่พยายาม ทำไมไม่เธอไม่หยุด ประโยคเหล่านี้จะยิ่งทำให้บั่นทอนผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากหลายคนเข้าใจผิดว่า ต้องกดดันหรือต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกฮึกเหิม แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับคนที่ป่วยป็นโรคซึมเศร้า แม้แต่คนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าฟังแล้วยังรู้สึกแย่ได้ ดังนั้นอย่านำคำพูดเหล่านี้มาใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเด็ดขาด เพราะคำพูดกดดันไม่ใช่การช่วยเหลือ

พูดแบบไหนดีต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำพูดที่เป็นการแสดงความรักหรือความห่วงใย ถ้าหากเราไม่รู้จะพูดอะไรแนะนำว่าให้เริ่มจากการรับฟัง เริ่มจากการรับฟังเขาให้มาก ฟังด้วยความตั้งใจ บางครั้งหลาย ๆ คน อยากได้รับฟังอยากได้คนระบาย สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายหรือลดความเศร้าลงได้มากเลยทีเดียว

โรคซึมเศร้ารักษาได้
ปัจจุบันเรามีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเยอะมากๆ แล้วที่สำคัญ “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่สามารถรักษาได้
ถ้าตัวเองหรือคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งแรกที่แนะนำคือรีบไปหาจิตแพทย์ อย่าเก็บเอาไว้ ยิ่งเก็บไว้นานการรักษาจะยิ่งยากขึ้น ถ้าไปเร็วการรักษาก็จะง่ายกว่า ก่อนไปพบจิตแพทย์ถ้าเรามีข้อข้องใจเราสามารถจดบันทึกไว้ได้ก่อน เมื่อไปถึงแล้วก็ปรึกษาจิตแพทย์ได้เลย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเพราะปัจจุบันมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมากมายก็อาจจะมีทั้งที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้ หากได้รับการประเมินวินิจฉัยจากจิตแพทย์แล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริง ๆ เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา ควรรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หายขาดจะดีที่สุด ไม่ควรหยุดหรือปรับยาเอง ควรไปรักษาตามนัดหมาย เพราะโรคซึมเศร้าอาจจะกำเริบกลับมาแล้วอาจจะเป็นหนักกว่าเดิมได้

จิตเวช

สื่อสารด้วยความใส่ใจและเข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

กระดูกสันหลังคด สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองหรือการสังเกตจากคนรอบตัว โดยมีวิธีสังเกตได้ ดังนี้

  • หัวไหล่ 2 ข้างเอียงไม่เท่ากัน
  • สะโพกเอียงไม่เท่ากัน
  • กระดูกซี่โครงบิดเบี้ยว
  • กระดูกสันหลังปูดโปนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง

กระดูกสันหลังคดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วยบางรายมีความคดไม่เยอะมากนักแต่ก็ทำให้ขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่มีกระดูกสันหลังคดเยอะขึ้นจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย หากกรณีมีมุมคดเยอะเพิ่มขึ้นจะมีอาการต่ออวัยวะในระบบอื่นๆ มีการเบียดทับเส้นประสาทได้ เช่น มีการชา อ่อนแรง สูญเสียการทรงตัวได้ ถ้ามีความคดในช่วงทรวงอกอาจทำให้ปริมาตรปอดลดลง

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกสันหลังคด

สำหรับโรคกระดูกสันหลังคดที่พบได้มากในปัจจุบันมักจะเป็นโรคกระดูกสันหลังในวัยรุ่น ซึ่งเป็นผลจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง การป้องกันอาจจะทำได้ไม่มากนักเพราะเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรม แต่ขอให้หมั่นสังเกตตัวเองหากเริ่มมีอาการกระดูกสันหลังคดควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาแม้เราจะไม่สามารถป้องกันไม่ได้เกิดขึ้นได้ แต่หากตรวจพบได้ไวก็สามารถควบคุมอาการไม่ให้หนักได้

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคด มีผลเสียอย่างไร?

โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นช้าหรือเร็ว หรือมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด ก็จะเข้าข่ายภาวะ “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” 

หากปล่อยไว้นาน หรือไม่รักษาให้ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปัจจุบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเทคโนโลยีการจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ โดยแพทย์จะใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสวนเข้าไปที่หัวใจ และปล่อยคลื่นไฟฟ้าเข้าไปรักษา 

การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดถึง 98% โดยไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต สามารถใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แบบไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะอีกต่อไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์หัวใจ ชั้น 5 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5300, 5301

ศูนย์หัวใจ

หัวใจเต้นผิดจังหวะหายขาดได้ถึง 98% ด้วยเทคโนโลยีจี้ไฟฟ้าหัวใจ

อาการ “ปวดหัว” ถือเป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย แต่หากปวดหัวอย่างรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคเส้นเลือดในสมองโป่งพองหรือการมีเลือดออกในสมองได้

ในผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการ และแทบจะไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองนั้นแตก จนนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน

ซึ่งสัญญาณเตือนของโรคเส้นเลือดในสมองโป่งพอง คุณสามารถสังเกตได้จากอาการปวดหัว ร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • ปวดหัวรุนแรง
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียนพุ่ง
  • สับสน ซึมลง
  • แขนขาอ่อนแรง
  • หน้าเบี้ยวครึ่งซีก
  • มีอาการเหน็บชาตามร่างกายครึ่งซีก
  • พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด รวมถึงมีอาการกลืนลำบาก และสำลัก
  • เห็นภาพซ้อน ภาพมัว มองไม่ชัด

หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง  อีกทั้งยังลดความเสี่ยงภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตได้อย่างกะทันหันได้อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 1 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 5400

ศูนย์สมองและระบบประสาท

“ปวดหัว” อย่าวางใจ อาจเสี่ยงโรคร้าย อันตรายถึงชีวิต

Lokomat gait training

  • หุ่นยนต์ช่วยการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการทรงตัวและการยืนเดินอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), ไขสันหลังบาดเจ็บ, การได้รับการบาดเจ็บทางสมอง หรือ จากโรคพาร์กินสัน
  • ฟื้นฟูการเดินอย่างมีประสิทธิภาพเลียนแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ได้อย่างใกล้เคียงธรรมชาติ- กระตุ้นผู้ป่วยด้วยเกมส์การฝึกที่หลากหลาย
  • ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงความสามารถและพัฒนาการระหว่างการฝึกของตนเอง ทำให้มีกำลังใจในการฝึก

C-Mill machine

  • เครื่องช่วยฟื้นฟูการเดินในสภาพจำลองเสมือนจริงเช่น การเดินในสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน การหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวางเพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์จริง- ฟื้นฟูการทรงตัวและการก้าวเดินปรับจังหวะการก้าวเดิน
  • ฝึกบนพื้นฐานการเล่นเกมส์และสถานการณ์จำลองที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้ผู้ป่วยไม่เบื่อ ลดความกดดันและความเครียดขณะฝึก ผู้ป่วยมีกำลังใจในการฝึกอย่างต่อเนื่องจนถึงเป้าหมาย
  • สามารถใช้ฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานขั้นสูงของสมองบกพร่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรู้ระยะและทิศทาง (visuospatial) การทำกิจกรรมที่มีขั้นตอน (praxis) การมีสมาธิในการทำกิจกรรมที่ซับซ้อน (attention) และการตัดสินใจในการทำกิจกรรมหรือบริหารงาน (executive function)

KEEOGO

  • อุปกรณ์ช่วยเดินที่จะช่วยให้ผู้ป่วยก้าวเดินอย่างมั่นใจและเดินได้ไกลขึ้น
  • ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวอย่างอิสระก้าวข้ามข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อถดถอย หรืออาการปวด
    • เดินได้ไกลและนานขึ้น
    • ช่วยการขึ้น– ลงบันได พื้นต่างระดับ
    • ช่วยให้สามารถนั่งยองๆและลุกขึ้นจากพื้นได้ง่ายขึ้น
  • บรรเทาอาการปวดเข่าได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2316, 2332

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Human Movement Rehabilitation

Armeo Spring – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาแขนอ่อนแรง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มขยับกล้ามเนื้อแขนได้ แต่แรงกล้ามเนื้อและการควบคุมการเคลื่อนไหวยังไม่ดีพอสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยหุ่นยนต์นี้ช่วยทำให้การฝึกการควบคุมและออกแรงกล้ามเนื้อทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะรายงานผลผ่านหน้าจอเพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และปรับการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ถูกต้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2316, 2332

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Armeo Spring – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาแขนอ่อนแรง

Hand of Hope – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต ที่กล้ามเนื้อมือไม่สามารถขยับได้ หรือแรงกำเหยียดมือยังไม่ดี หุ่นยนต์ Hand of Hope นี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของมือได้อย่างเป็นธรรมชาติและปลอดภัย ส่งเสริมการฟื้นตัวของระบบประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2316, 2332

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Hand of Hope – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต

Luna EMG & Mezos SIT – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มีปัญหากล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ทั้งในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถขยับแขนได้ และในผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อแขน หุ่นยนต์ Luna มาพร้อมกับมอเตอร์ที่ช่วยพยุงแขน พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ในรูปแบบที่ถูกต้อง เป็นไปตามหลักสรีระของการเคลื่อนไหวของมนุษย์

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2316, 2332

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Luna EMG & Mezos SIT – หุ่นยนต์กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
18121