โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง มีตั้งแต่โรคทั่วไปที่อาการไม่รุนแรงแต่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ออฟฟิศซินโดรม กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดคอ ปวดหลัง โดยแพทย์เฉพาะทางจะตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด แนะนำการปรับพฤติกรรม รวมถึงท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหรือมีอาการที่รุนแรง เช่น ปวดหลังร้าวลงขาและมีอาการชาร่วมด้วยจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังคด หรือกระดูกสันหลังบาดเจ็บรุนแรง แพทย์เฉพาะทางอาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบทุกด้าน เพื่อวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
ศูนย์กระดูกสันหลัง (Spine Center) มีทีมแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษา ดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อทุกรูปแบบ ทั้งอาการปวดหลัง ปวดคอจากปัญหากล้ามเนื้ออักเสบออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังตั้งแต่คอจนถึงก้นกบ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังติดเชื้อ กระดูกสันหลังคด รวมถึงมีแพทย์ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่มความสูง เป็นต้น โดยมีเทคโนโลยี MRI (Magnetic Resonance Imaging) และ CT-Scan (Computerized Tomography) รุ่นใหม่ล่าสุดเป็นเครื่องมือตรวจหาความผิดปกติและช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ เพื่อช่วยให้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูงสุด
วัน เวลาทำการ
สถานที่
นัดหมายและติดต่อสอบถาม
ศูนย์กระดูกสันหลัง (Spine Center) ให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง ตั้งแต่บริเวณคอจนถึงกระดูกก้นกบ และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าว ตลอดจนโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคกระดูกสันหลังคด ที่สามารถผ่าตัดแก้ไขมุมคดได้มากกว่า 100 องศา, โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน, โรคกระดูกติดเชื้อ, โรคมะเร็งกระดูก, โรคออฟฟิศซินโดรม หรือแม้แต่การผ่าตัดเพิ่มความสูง เป็นต้น โดยมีแพทย์เฉพาะทางให้การรักษาร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope หรือ Endoscope ร่วมกับเครื่อง O-arm และ Navigator เพื่อให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก การผ่าตัดแม่นยำขึ้น ลดการบาดเจ็บ การเสียเลือดและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการผ่าตัด รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Intraoperative Neuromonitoring เพื่อตรวจสอบการทำงานของเส้นประสาทแบบ Real Time ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทขณะผ่าตัด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด
การรักษาโดยการผ่าตัด