ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ - โรงพยาบาลเวชธานี

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ


ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางที่มุ่งมั่นในการให้บริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและครบวงจรสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ความสามารถในสาขานี้โดยเฉพาะ พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดเพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ตั้งแต่การวินิจฉัยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และการติดตามผลหลังการรักษา โดยมีบริการที่หลากหลาย เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีส่องกล้อง การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษา รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ เรายึดมั่นในมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ มีความใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีและกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงในเวลาอันรวดเร็ว

วัน เวลาทำการ

วันจันทร์,วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น.
วันอังคาร เวลา 08.00 - 17.00 น.

สถานที่

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 2 โรงพยาบาลเวชธานี

นัดหมายและติดต่อสอบถาม

โทร. 02-734-0000 ต่อ 2960 , 2961 , 2966

เทคโนโลยีที่ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ

  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยโดยไม่ต้องดื่มหรือฉีดสารทับรังสี เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography หรือ Ultrasound) เป็นการตรวจที่ไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารทับรังสี ใช้เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในช่องท้องส่วนบน ได้แก่: ตับ (Liver) ตับอ่อน (Pancreas) ถุงน้ำดีและท่อน้ำดี (Gallbladder and Bile Ducts) ม้าม (Spleen) ไต (Kidneys)
  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยโดยการดื่มหรือฉีดสารทึบรังสีเป็นวิธีการที่ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบความผิดปกติภายในร่างกายได้อย่างละเอียดและแม่นยำ โดยมีวิธีการตรวจต่างๆ ดังนี้:
    • การตรวจ Barium Swallowing: เป็นการตรวจเพื่อดูการกลืนและการสำลัก ตรวจดูการบีบตัวของหลอดอาหาร รวมถึงการตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ ของหลอดอาหาร
    • การตรวจ Upper GI (Upper Gastrointestinal Series): เป็นการตรวจระบบการกลืนอาหารและหลอดอาหาร รวมถึงการตรวจดูกระเพาะอาหารทั้งหมดและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติและการทำงานของอวัยวะเหล่านี้
    • การตรวจ Long GI (Long Gastrointestinal Series): เป็นการตรวจระบบการกลืนอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้งหมด เพื่อตรวจหาการอักเสบของลำไส้เล็กและความผิดปกติอื่นๆ
    • การตรวจ BE (Barium Enema): เป็นการตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการใช้สารทึบรังสีช่วยให้เห็นภาพลำไส้ใหญ่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    • Computerrised Tomography (Spiral CT Scan) และ Magnetic Resonance Imaging (MRI)
  • GI Endoscope การส่องกล้องการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เป็นวิธีการที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
    • Gastroscopy: การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
    • Colonoscopy: การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของลำไส้ใหญ่
    • Gastric balloon: การใส่บอลลูนลดความอ้วน
    • Sigmoidoscopy: การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
    • Polypectomy: การตัดเนื้องอกขนาดเล็กในกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนต้น ผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • EVS, EVL (Endoscopic Variceal Treatment): การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารโดยการฉีดยาหรือรัดเส้นเลือดขอดผ่านการส่องกล้อง
    • PEG (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy): การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหารโดยการส่องกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด
    • Diagnostic ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography): การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้อง เช่น นิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งของท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ
    • Therapeutic ERCP (Sphincterotomy, Stone Extraction): การตรวจและรักษาท่อน้ำดี เช่น มะเร็งท่อน้ำดี และนิ่วในถุงน้ำดี ผ่านการส่องกล้อง
    • Endoscopic Ultrasound (EUS) เป็นวิธีการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีการส่องกล้องร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เพื่อให้ได้ภาพที่ละเอียดของอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารและอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี
  • การตรวจทางพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหารที่แม่นยำ (GI Pathology)
  • การรักษาโดยเทคนิคทางรังสีร่วมรักษา รักษาขั้นสูงในการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด (Interventional Radiology) 
  • TACE (Trans arterial Chemo – Embolization) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในกรณีที่มะเร็งตับไม่สามารถผ่าตัดออกได้ โดยแพทย์จะทำการสอดสายเล็กเข้าไปในเส้นเลือดแดงที่ไปยังตับ จากนั้นจะฉีดยาเคมีบำบัดเข้าไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรง พร้อมกับใส่สารอุดเส้นเลือดเพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง วิธีนี้ช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็งและจำกัดการเจริญเติบโตของมัน
  • FNA (Fine Needle Aspiration) และ Liver Biopsy เป็นกระบวนการที่ใช้ในการดูดและเจาะตับเพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะในกรณีที่มีก้อนในตับที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งตับหรือมีการอักเสบของตับ ทั้งสองวิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม
  • การตรวจ Urea Breath Test ใช้ในการตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจนี้ทำโดยวัดปริมาณของคาร์บอน-13 (13C) ในลมหายใจ โดยไม่ต้องใช้การส่องกล้อง
  • การตรวจ Hydrogen Breath Test เป็นวิธีการที่ใช้ในการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อาการท้องอืด และกลิ่นปากจากระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบภาวะการไม่ย่อยของน้ำตาล เช่น แลคโตส (Lactose) และฟรุกโตส (Fructose) รวมถึงการตรวจสอบภาวะการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้เล็ก (Small Intestinal Bacterial Overgrowth หรือ SIBO)
  • การตรวจ Manometry เป็นการตรวจเพื่อวัดความดันและการทำงานของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะหลอดอาหาร (Esophagus) และ ทำงานของกล้ามเนื้อในทวารหนักและหูรูด (Anorectal) เพื่อวินิฉัยการเคลื่อนไหวผิดปกติของทางเดินอาหาร
  • การตรวจ 24-Hour pH Monitoring เพื่อวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อวินิจฉัยและประเมินภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) และความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกรดในหลอดอาหาร ตรวจโดย การใช้สายตรวจ (Wire-based 24-Hour pH Monitoring) และ การใช้แคปซูลตรวจ (Capsule-based 24-Hour pH Monitoring)

โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

  • ท้องอืดเรื้อรัง (Chronic Bloating)
  • ท้องผูก (Gastroenteritis)
  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD)
  • การรักษาภาวะติดเชื้อแบททีเรีย H.pylori ในกระเพาะอาหาร
  • ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง (Irritable Bowel Syndrome, Constipation)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (GI Infections)
  • โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Colitis)
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี ท่อน้ำดีอักเสบ (Gallstones, Cholangitis)
  • โรคตับอักเสบจากพิษสุรา (Alcoholic Liver Disease)
  • โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)
  • โรคทางเดินอาหารในเด็ก (Pediatric GI)
  • โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • โรคตับแข็ง (Liver Cirrhosis)
  • โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer)
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer)
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)
  • โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer)
  • โรคมะเร็งในท่อน้ำดี (Cholangio Carcinoma)
  • บอลลูนลดน้ำหนัก (Gastric balloon)
  • ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)

คณะแพทย์

นพ. กิตติธัช ตันติธนวัฒน์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. จักรภพ ชัยขจรวัฒน์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. ณัฏฐากร วิริยานุภาพ

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. ณัฐวุฒิพงศ์ ลีรัตนขจร

ศัลยศาสตร์โรคตับและทางเดินน้ำดี

ศัลยศาสตร์
นพ. ประเดิมชัย คงคำ

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. พรเทพ อังศุวัชรากร

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. รพีพัฒน์ ถนอมเพ็ชรสง่า

ศัลยศาสตร์โรคตับและทางเดินน้ำดี

ศัลยศาสตร์
นพ. รัชวิชญ์ เจริญกุล

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. สุนทร ชลประเสริฐสุข

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
นพ. เจษฎ์ ศุภผล

ศัลยศาสตร์โรคตับและทางเดินน้ำดี

ศัลยศาสตร์
นาวาโทนพ. บุญเลิศ อิมราพร

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
ผศ.นพ. พิพิธ บุรัสการ

ศัลยศาสตร์โรคตับและทางเดินน้ำดี

ศัลยศาสตร์
พญ. จีรวัชร์ เมธาภา

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
พญ. ณณิชา ศิริวงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
พญ. ศศิพิมพ์ จามิกร

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์
พญ. ศิริณา เอกปัญญาพงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อายุรศาสตร์

Other Information

แพ็กเกจและโปรโมชัน

Show more

ความประทับใจของผู้รับบริการ

Show more

บทความสุขภาพ

Show more

วีดีโอสุขภาพ

Show More